แผนที่ทำนายการรั่วไหลของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และเส้นทางการอพยพคนออกจากพื้นที่เสี่ยงเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน

ฐานิฏฐ์ กิจประชา, กาญจนา นาคะภากร

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้ มุ่งเน้นศึกษาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสมมติฐานการรั่วไหลของ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) โดยวิเคราะห์ผ่านโปรแกรม Areal Location of Hazardous Atmosphere (ALOHA) และนำข้อมูลประมวลผลผ่านโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในช่วง Wet & Dry Season เพื่อจัดทำแผนที่ทำนายการรั่วไหลของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และเส้นทางการอพยพคนออกจากพื้นที่เสี่ยงเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม 304 จ.ปราจีนบุรี ซึ่งผลการวิจัยโดยการนำข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ทิศทางและความเร็วลม และความเข้มข้นของสารจากการตั้งสมมติฐาน มาคำนวณหาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) คือ ปริมาณของสารที่เพิ่มขึ้น และปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรง รวมถึงระยะขอบเขตของผลกระทบจากการแพร่กระจายของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ได้แก่ ความเร็วลม, ทิศทางลม, อุณหภูมิ และความกดอากาศ ซึ่งเมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำแผนที่ พบว่า มีพื้นที่ที่ปลอดภัยจากรัศมีของการกระจายของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ทั้งในช่วง Dry Season และ Wet Season ที่มีความเหมาะสมที่จะทำเป็นที่อพยพฉุกเฉินชั่วคราวหรือถาวรได้ จำนวน 6 แห่ง ทั้งนี้ เส้นทางสำหรับอพยพหลักมีเส้นทางเดียว คือ ทางหลวงหมายเลข 3079 สายโคกขวาง (ศรีมหาโพธิ) และออกไปยังเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (บ้านคลองรั้ง) โดยการวิจัยในครั้งนี้ จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้วยการต่อยอดจัดทำแผนที่ ในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรม อื่นๆ ต่อไป รวมทั้ง สามารถใช้งานแผนที่ดังกล่าวได้จริง เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**