การศึกษาการถ่ายโอนเขม่าปืนด้วยเทคนิค ICP-MS
Abstract
การตรวจวิเคราะห์เขม่าปืนเป็นงานส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกลุ่มงานตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน เนื่องจากหลักฐานประเภทเขม่าปืนสามารถเชื่อมโยงผู้ต้องสงสัยเข้ากับเหตุยิงปืนได้ ซึ่งในประเทศไทยใช้การตรวจวิเคราะห์เขม่าปืนเชิงปริมาณเป็นหลัก โดยการตรวจยืนยันปริมาณธาตุโลหะบ่งชี้ที่หลงเหลือจากการยิงปืน ได้แก่ แอนติโมนี แบเรียม และตะกั่ว จากมือของผู้ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม ในระหว่างขั้นตอนการจับกุมและค้นตัว ผู้ที่ทำการจับกุมจำเป็นสัมผัสมือกับผู้ต้องสงสัย หากผู้ที่ทำการจับกุมได้ผ่านการสัมผัสอาวุธปืนก่อนการจับกุมและค้นตัวแล้วนั้น เขม่าปืนจากอาวุธปืนอาจถ่ายโอนสู่มือของผู้ที่ทำการจับกุม และถ่ายโอนต่อเนื่องไปสู่มือของผู้ต้องสงสัยได้ โดยในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด อาจทำให้เกิดผลบวกลวงจากการตัวอย่างเขม่าปืนจากมือของผู้ต้องสงสัย และจับกุมผู้ต้องสงสัยผิดตัวได้ งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาปริมาณการถ่ายโอนของเขม่าปืนที่อาจเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนการจับกุมและค้นตัวผู้ต้องสงสัย ผลการวิจัยพบว่าเกิดการถ่ายโอนเขม่าปืนจากอาวุธปืนที่ผ่านการใช้ยิง สู่มือของผู้ที่ทำการจับกุมและถ่ายโอนต่อสู่มือของผู้ที่ถูกจับกุม และเกิดการถ่ายโอนจากอาวุธปืนที่ผ่านการทำความสะอาดหลังการใช้ยิงมาแล้วได้เช่นเดียวกัน แต่ปริมาณเขม่าปืนที่ตรวจพบบนมือของผู้ที่ทำการจับกุมและผู้ที่ถูกจับกุมในเกือบทุกกรณี น้อยกว่าเกณฑ์ค่ามาตรฐานที่ใช้ในการแปรผลการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่จะยืนยันว่าเกี่ยวข้องกับการยิงปืน
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**