การศึกษาและพัฒนาแนวทางการออกแบบเครื่องประดับจากเศษผ้าลายปัญจจันทบูร เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์

พนม จงกล, ศาสตรพันธุ์ บุญน้อย, วิมลิน สันตจิต

Abstract


วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเทคนิคและกระบวนการสร้างสรรค์เศษผ้าลายปัญจจันทบูรในการออกแบบเครื่องประดับ 2) เพื่อหาแนวทางการออกแบบเครื่องประดับจากเศษผ้าลายปัญจจันทบูร
เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลภาคเอกสารเกี่ยวกับกระบวนการเทคนิค และการใช้ประโยชน์จากเศษผ้า และศึกษาข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้เข้าใจบริบทการจัดการเศษผ้าและทักษะฝีมือของชุมชน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) เทคนิคและกระบวนการสร้างสรรค์เครื่องประดับจากเศษผ้าลายปัญจจันทบูรที่สอดคล้องกับลักษณะของเศษผ้าและทักษะชุมชน ได้แก่ การปักลูกปัด การปักไหม การตัดต่อผ้าแบบโบโระ (Boro) และการขึ้นรูปเป็นลูกปัดผ้ารูปแบบต่าง ๆ เช่น ทรงกลม ทรงกระบอก และแบบเย็บอัดเส้นใย 2) แนวทางในการออกแบบเครื่องประดับจากเศษผ้าลายปัญจจันทบูร ใช้แนวคิดการออกแบบแบบโมดูลาร์ โดยผลิตชิ้นส่วนเครื่องประดับแยกส่วนแล้วนำมาร้อยหรือถักรวมกันเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้สามารถต่อยอดเป็นเครื่องประดับแบบดีไอวาย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชนได้

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**