การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

โสภณา จิรวงศ์นุสรณ์

Abstract


การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษา ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะการสังเคราะห์รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษา และระยะการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ การทดลอง การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครได้โดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ ซึ่งเป็นนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำและประเมินขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอยู่ในขั้นชั่งใจ จำนวน 38 คน หลังจากพัฒนารูปแบบแล้วทำการทดลองโดยใช้เวลาในการทดลองกิจกรรมจำนวน 12 สัปดาห์ ระยะติดตามผลการวิจัย 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired samples t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ประกอบด้วยกิจกรรม 12 กิจกรรม 2) ผลการทดลองและประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบ คือ 2.1) ด้านความสมดุลในการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการการสูบบุหรี่ ภายหลังการทดลองนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p-value <0.05) 2.2) ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการการสูบบุหรี่พบว่าภายหลังการทดลองนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p-value <0.05) 2.3) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พบว่าภายหลังการทดลองมีจำนวนนักศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่จากขั้นไม่สนใจเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นปฏิบัติจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 57.9 2.4) ด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบว่าภายหลังการทดลองนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p-value <0.05) 2.5) การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.6)

Keywords


รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ , ความสมดุลในการตัดสินใจ , การรับรู้ความสามารถของตนเอง , ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

Full Text:

Untitled

References


ธนิดา มีต้องปัน. (2544). การพัฒนากลวิธีในการเลิกสูบบุหรี่ สำหรับนักศึกษาชาย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สาขาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุปผา ศิริรัศมี. (2554). การสำรวจระดับประเทศเรื่อง ผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบ International Tobacco Control Policy SurveySoutheast Asia : ITC-SEA (Thailand) การสำรวจระหว่างประเทศ รอบที่ 5 (2554). จดหมายข่าวประชากรและการพัฒนา, 34(3), กุมภาพันธ์-มีนาคม 2556. สถาบันวิจัยและประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, ซ, 1-4.

เบญจมาส บุณยะวัน, วันเพ็ญ แก้วปาน, สุรินธร กลัมพากร และนันทวัช สิทธิรักษ์. (2555). ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. วารสารเกื้อการุณย์, 19(2), กรกฎาคม-ธันวาคม 2555.

ประไพจิตร ชุมแวงวาปี. (2542). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษาชาย สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตขอนแก่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยมาศ สวนกูล. (2552). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเลิกสูบบุหรี่ ของทหารเกณฑ์ในค่ายวิภาวดีรังสิต จังหวัดสุราษฎ์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภานิสา ระยา, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, และกรกนก ลัธธนันท์. (2558). ผลของโปรแกรมการเลิกบุหรี่ตามแบบจำลองขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 31(2), พฤษภาคม-สิงหาคม 2558.

ภิญญาพัชญ ปลากัดทอง. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนรูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร. (2557). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชา LSC 305 การจัดการผู้ขายปัจจัยการผลิตสัมพันธ์. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รัชนา ศานติยานนท์. (2549). พิษภัยบุหรี่ การควบคุมการบริโภคยาสูบ สำหรับบุคลากรและนักศึกษาวิชาชีพสุขภาพ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

วรรณวิมล รัชนา ศานติยานนท์. (2549). พิษภัยบุหรี่ การควบคุมการบริโภคยาสูบ สำหรับบุคลากรและนักศึกษาวิชาชีพสุขภาพ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ศิราณี อิ่มน้ำขาว. (2555). รูปแบบพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ที่เข้าบำบัดในคลินิกเลิกบุหรี่ โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารกองการพยาบาล, 39(3), กันยายน-ธันวาคม 2555.

ศุลีวงศ์ สนสุผล. (2551). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีต่อการเลิกบุหรี่ของนักศึกษาชายในระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต การพัฒนาชุมชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสื่อสารสนเทศและการสื่อสาร, i, 3.

Kanitta Bundhamcharoen. (2009). Economic Burden From Smoking Related Diseases in Thailand in 2009. International Health Policy Program (IHPP), Ministry of Public Health. Nonthaburi 11000 Thailand, 8.

Prochaska, J.O., Norcross, J.C., Diclemente, C.C. (2006). Changing for Good. Arevolutionary six-stage program for overcoming bad habits and moving your life positively forward. New York: Harper Collins Publishers

Prochaska, J.O., Redding, C.A., & Evers, K.E. (2008). The Transtheoretical model and stages of change.In Glanz, K., Rimer, B., &Viswanath, K. (4th .ed). Health behavior and health education: Theory, Research and Practice. San Francisco: Jossey –Bass, 97-122.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง