ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของพนักงาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วรางคณา คงศีล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยแต่ละด้านที่ส่งผลต่อความสุขของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล โดยจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน และปัจจัยด้านความสุขในการทำงาน ผู้วิจัยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 276 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือจำนวน 276 ชุด หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่า t–test F-test และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านความสุขในการทำงานโดยรวมและรายด้านของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่าทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) พนักงานที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความสุขในการทำงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง 


Keywords


ความสุขในการทำงาน, คุณภาพชีวิตในการทำงาน

Full Text:

Untitled

References


เกษม ตันติผลาชีวะ. (2546). อยู่อย่างมีสุข. กรุงเทพฯ: วันเนสพริ้นติ้ง.

จินดา หลวงตา. (2553). ความสุขในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในธุรกิจโรงแรมกรณีศึกษา โรงแรมในเครือบริษัทแห่งหนึ่งในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต การจัดการทรัพยากรมนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดนัย เทียนพุฒ. (2551). บริหารคนในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

นัฐกรณ์ บัวขาว. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย บริษัท เอ็ม.จี.เอ็น.ซี คิวริตี้การ์ดเซอร์วิส จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

มลิวรรณ วงศ์งาม. (2554). การศึกษาความสุขในการทำงานของพนักงานครู สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2558). วิสัยทัศน์ เป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. จาก http://ssru.ac.th/index.php/th/about-us/concept.html.

ลลิตา ศรีเสาวคนธร. (2554). การศึกษาความสุขในการทำงานของพนักงาน บริษัท เบลโซน่า โพลีเมอริกส์ ลีมีเต็ด (ประเทศไทย). วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต การจัดการทรัพยากรมนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิวิมล คำนวล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่าง การมองโลกในแง่ดี ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสุข : กรณีศึกษาพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). รายงานสรุปผลการประชุมประจำปี 2557 เรื่อง การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุม. 26 กันยายน 2557.

สิรินทร แซ่ฉั่ว. (2553). ความสุขในการทำงานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุรางค์ มะลิทอง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวพันในงาน ความสุขในการทำงาน และคุณภาพ ในการบริการของพนักงานบริการลูกค้ากรณีศึกษาธนาคารของรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Walton, R.E. (1973). Quality of Work Life: What is It?. Sloan Management Review. 15 (Fall 1973), 11-12.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง