สมรรถนะที่พึงประสงค์ของวิทยากรศูนย์ฝึกอาชีพ สังกัดกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของวิทยากรต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์ของวิทยากรศูนย์ฝึกอาชีพสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของวิทยากรต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์ของวิทยากรศูนย์ฝึกอาชีพสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การเป็นวิทยากร และกลุ่มงานอาชีพจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ด้านทักษะ ด้านพฤติกรรม และด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง วิทยากรศูนย์ฝึกอาชีพสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 260 คน ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวมรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แผนการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย การทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า 1. วิทยากรที่มีเพศ อายุระดับการศึกษา และการเป็นวิทยากรในกลุ่มงานอาชีพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของวิทยากรศูนย์ฝึกอาชีพสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 4 ด้านและภาพรวมไม่แตกต่างกัน2. วิทยากรที่มีประสบการณ์การเป็นวิทยากรแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของวิทยากรศูนย์ฝึกอาชีพสังกัดกรุงเทพมหานครในด้านความรู้ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ และภาพรวมของสมรรถนะที่พึงประสงค์แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2543). Competency-based Human Resource Management. วารสารการบริหารคน, 4(21), 11-18.
ประกฤต จันทน์เกษร. (2548). บทบาทหน้าที่ของวิทยากรเกษตรกรในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรของตำบลน้ำร่องและตำบลหลักในเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิวัลย์ดา สิริชีวานันท์. (2545). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักของวิทยากร กระบวนการในงานสาธารณสุข การวิเคราะห์ความตรงเชิงประจักษ์และความไว. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศรัญญา ทับน้อย. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการเป็นวิทยากรของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 209.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การพัฒนาระบบสมรรถนะ. สืบค้นเมื่อ มกราคม 28, 2559, จาก http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com _content&view=article&id=258&Itemid=252.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 5, 2558, จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล, กรุงเทพมหานคร. (2552). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 12 ปี (พ.ศ. 2552-2563) กรุงเทพมหานครแห่งความน่าอยู่อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์.
สุรเดช ชูพินิรอบคอบ. (2545). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของวิทยากรภายนอกตามทัศนะของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่จัดฝึกอบรม. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อุกฤษณ์ กาญจนเกตุ. (2543). การใช้ Competency ในการบริหารงานบุคคล. วารสารบริหารคน, 4(21), 11-18.
Bloom, B. S. (Ed.). (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals: Handbook II affective domain. New York: David Mckey.
Boyatzis, R. E. (1982). Competence at work. In a Stewart (Ed.), Motivation and society. San Francisso: Jossey-Bass.
McClelland, D. C. (1975). A competency model for human resource management specialists to be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: Mcber.
Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competence at work: Model for superior performance. New York: Wiley.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3 rd ed.). New York: Harper & Row.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง