ความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

สุนิสา ศรีวลีรัตน์, นัทนิชา หาสุนทรี

Abstract


การวิจัยครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับสวัสดิการสังคมในเขตพื้นที่เขตกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน 377 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test (t-test for Independent Sample) และ ANOWA (One-Way ANOVA) และการตรวจสอบความแตกต่างแบบรายคู่ ตามวิธีของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า

          1.ระดับความพึงพอใจในการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล  ด้านการให้บริการ  ด้านที่พักอาศัย ด้านครอบครัวผู้ดูแลและการคุ้มครอง และด้านการสร้างบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน  และอยู่ในระดับปานกลาง  1 ด้าน ได้แก่ ด้านรายได้

          2.ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่มีเพศ โรคประจำตัว ลักษณะที่พัก ระดับการศึกษาต่างกัน ความพึงพอใจในการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสถานภาพต่างกัน ความพึงพอใจในการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.