การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

มณีพิมพ์ วรรณภพ, สุริยา ชาปู่

Abstract


การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
ที่สามารถพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุ กลุ่มเป้าหมายในการทำวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 นักเรียนจำนวน 15 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนตามวงจร PAOR ทั้งหมด 4 วงจร เครื่องมือวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบวัดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และใบกิจกรรมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ ให้นักเรียนวีดีโอหรือยกตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว 2) ขั้นตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ 3) ขั้นค้นคว้าและคิด ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลแล้วทำใบกิจกรรมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ครู โดยให้นักเรียนเขียนเงื่อนไขสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย แล้วเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดพร้อมให้เหตุผลและเขียนอธิบายการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนที่หลากหลายการกำหนด 4) ขั้นนำเสนอ 5) ขั้นประเมินผล โดยนักเรียนมีคะแนนหลังเรียนจากการทำใบกิจกรรมและแบบวัดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีระดับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับสูง


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.