ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดจากผู้เสียชีวิตกับพฤติการณ์การเสียชีวิตจากการตรวจพิสูจน์ทางนิติพิษวิทยากรณีศึกษา: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

จีรัญชยา ธนาผลอารีย์

Abstract


การวิจัยครังนีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทีทำให้เสียชีวิต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับพฤติการณ์การเสียชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ โดยทำการวิจัยเป็นกรณีศึกษาทีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และใช้ตัวอย่างจำนวน 41 ตัวอย่าง พบว่า อุบัติเหตุเป็นพฤติการณ์การเสียชีวิตที่พบมากทที่สุดรองลงมาคือ ไม่ทราบสาเหตุซึงสอดคล้องกับความเห็นจากแบบสอบถามว่าผู้เสียชีวิตทีมีแอลกอฮอล์เกินมาตรฐานจะมีพฤติการณ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากทีสุด เมื่อนำตัวแปรต่างๆทีเกียวเนื่องกับการเสียชีวิตแบบอุบัติเหตุมาพิจารณาร่วมกันจะ พบว่า คนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมักเป็นผู้บริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง หรือมากกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป โดยส่วนมากเป็นชายไทยอายุน้อยกว่า 30 ปีโดยประมาณ เขตที่มักพบพฤติการณ์การเสียชีวิตแบบอุบัติเหตุคือ ประเวศ และสวนหลวง โดยผู้เสียชีวิตมีอายุเฉลีย 42.51 ปี ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดเฉลี่ย 143.67 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ การตรวจหาระดับความเข้มข้นแอลกอฮอล์ในเลือดจากผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นบทบาทหนึงของงานิติวิทยาศาสตร์ เมื่อนำมาประมวลผลกับข้อมูลต่าง ๆ คือ พฤติการณ์การเสียชีวิต อายุ เพศ สัญชาติ และเขตที่พบผู้เสียชีวิต จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการป้องปรามหรือรณรงค์เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุหรืออาชญากรรมลงได้


Keywords


ความเข้มข้น,แอลกอฮอล์ในเลือด

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.