ผลการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีหัตถบำบัด ประคบสมุนไพร และการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยวิธีการหัตถบำบัด ประคบสมุนไพร และพอกเข่าด้วยยาสมุนไพรพอกเข่าสูตรชานุรักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มารับบริการที่คลินิกเวชกรรมไทย ศูนย์แพทย์วัดหนองแวงพระอารามหลวง ร.พ.ขอนแก่น จำนวน 57 คน เพื่อนำมาเข้าสู่การคัดตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออกของผู้วิจัย วิธีการศึกษา คือทำการรักษาและวัดค่าคะแนนความปวด (numerical rating scales) ก่อน – หลังการรักษา (โดยผู้ให้คะแนนและพอกยาสมุนไพรเป็นแพทย์แผนไทยคนเดียวกัน ทั้ง 5 ครั้ง ในส่วนของผู้ทำการหัตถบำบัดและประคบสมุนไพรจะเป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นคนเดียวกัน ทั้ง 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์) วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่า numerical rating scales ก่อน – หลังการรักษาโดยเปรียบเทียบครั้งที่ 1, 2, 3, 4, 5 โดยใช้สถิติ Repeated Measures ANOVA โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ (α) 0.01 วิเคราะห์โดยโปรแกรม SPSS Version 24 ผลการวิจัยพบว่า 1. เพศหญิงมารับการรักษา 83.6% ซึ่งมีมากกว่าเพศชาย2. ช่วงอายุที่มารับการรักษามากที่สุด คือ 51-60 ปี พบร้อยละ 36.3 3. ดัชนีมวลกายระดับอ้วน (BMI = 25-29.9) พบว่ามารับการรักษามากที่สุดที่ร้อยละ 41.8 4. อาชีพที่มารับการรักษามากที่สุด คือ เเม่บ้าน ร้อยละ 29.15. เมื่อวิเคราะห์ผลการรักษา พบว่า ค่าคะแนนความปวด Numeric Rating Scale ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในครั้งแรกจะไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P = .047(P>0.01) แต่เมื่อเทียบก่อนการรักษาของครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 (P = .003), เทียบก่อนการรักษาของครั้งที่ 1 กับครั้ง 3 (P = 0.01), เทียบก่อนการรักษาของครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 4 (P = 0.005) และเทียบก่อนการรักษาของครั้งที่ 1 กับครั้ง 5 (P = 0.01) อาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ผลสรุป : การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการนวด ประคบสมุนไพร พอกยาและทำท่ากายบริหาร สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ไม่สามารถลดอาการปวดได้ในครั้งแรกแต่จะลดลงเมื่อทำการรักษาในครั้งที่ 2, 3, 4 และ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**