การบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้เรียนในยุคโลกพลิกผัน

ประทุมทอง ไตรรัตน์, ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา, ประภาพร จันทรรัศมี, สิริยากร กองทอง, เศกสรร สกนธวัฒน์, อาทิพย์ สอนสุจิตรา

Abstract


วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้เรียนในยุคโลกพลิกผัน 2) นำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้เรียนในยุคโลกพลิกผัน  โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในจังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 แห่ง โดยแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวย หัวหน้างานด้านหลักสูตร ด้านแผน ด้านกิจการนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่เป็นตัวแทน รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งหมด 792 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด  สำหรับค่าความจำเป็นสูงสุดของทักษะความฉลาดทางอารมณ์ของผู้เรียน งานฝ่ายบริหารและแผน คือ ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา (PNIModified=0.088) งานฝ่ายวิชาการ คือ ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น และความฉลาดการเข้าสังคม (PNIModified=0.081) งานฝ่ายกิจการนักเรียน คือ ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา (PNIModified=0.090)  แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้เรียนในยุคโลกพลิกผัน ได้แก่  1)  พัฒนากิจการนักเรียนโดยใช้ฐานของความรู้ แนวคิด เหตุผล ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความฉลาด ในการรับรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2) พัฒนาวิชาการทั้งด้านพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่เสริมสร้างความฉลาดในการเล่น และความฉลาดในการเข้าสังคม 3) พัฒนาการบริหารด้วยการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลที่เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนให้มีความฉลาดในการแก้ไขปัญหา

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**