การติดต่อสื่อสาร สภาพแวดล้อมการทำงาน และความเครียด ส่งผลประสิทธิภาพการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน และปัจจัยด้านความเครียด ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรสาย-สนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 200 คน และวิธีการทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลสมมติฐาน ใช้สถิติวิเคราะห์การทดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัย ด้านการติดต่อสื่อสาร มีอิทธิพลร้อยละ 42.4 ต่อประสิทธิภาพการทำงาน โดยเหตุปัจจัยด้านคุณภาพการสื่อสาร ด้านการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานอื่น หรือองค์กรอื่น และด้านทักษะการสื่อสารด้านเทคโนโลยี มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน มีอิทธิพลร้อยละ 33.1 ต่อประสิทธิภาพการทำงาน โดยเหตุปัจจัยด้านการแพร่กระจายของโรคระบาด และด้านความชัดเจนในการวางแผน มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ปัจจัยด้านความเครียด มีอิทธิพลร้อยละ 46.2 ต่อประสิทธิภาพการทำงาน โดยเหตุด้านปริมาณงาน ด้านผลตอบแทนและตำแหน่ง ด้านลักษณะงาน มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนั้นผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน และด้านสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ปัจจัยด้านความเครียด ด้านความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**