บทบาทของผู้บริหารในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา
Abstract
จากสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อประเทศในทุก ๆ มิติ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือตัวบุคคล และเมื่อพูดถึงการทำงานในด้านขององค์กร ที่ยังไม่ถูกผลกระจบจนต้องปิดตัวลง สถานศึกษาก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ยังยืนอยู่ได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่บั่นทอนกำลังใจในทุก ๆ ด้าน ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนสถาบันการศึกษา นอกเหนือจากปัจจัยอื่น ๆ เนื่องจากกำลังคนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้เดินไปข้างหน้าได้ ถ้าขาดแรงจูงใจในการทำงานด้วยปัจจัยรอบตัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นั้น อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรไม่ทางตรงก็ทางอ้อม จากปัญหาที่กล่าวมาจะทำอย่างไรให้บุคลากรในสถานศึกษามีแรงจูงใจในการทำงานในหน้าที่ของตน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีแก่องค์กรต่อไป บทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอบทบาทของผู้บริหาร ทฤษฎีของการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและแนวทางในการสร้างแรงจูงใจโดยอิงจากโครงสร้างของความสุขและสุขภาวะในจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำมาปรับใช้กับการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**