การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความเชื่อมั่น และการแสวงหาบริการสุขภาพการแพทย์กระแสหลักและ การแพทย์แผนไทยของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19

สุปรียา แซ่ภู่, ศศิธร ธนะภพ, วันวิสาข์ สายสนั่น ณ อยุธยา

Abstract


การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์และอธิบายการรับรู้ภาวะสุขภาพ
ความเชื่อมั่น และการแสวงหาบริการสุขภาพการแพทย์กระแสหลักและการแพทย์แผนไทยของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 สุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เข้ารับบริการ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 393 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ ความเชื่อมั่น และการแสวงหาบริการสุขภาพของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 ค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ในช่วง 0.97-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2565 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีการรับรู้ภาวะสุขภาพของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 78.1) ความเชื่อมั่นในบริการการแพทย์กระแสหลักและการแพทย์แผนไทยอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 55.5 และ 67.2 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เข้ารับการตรวจรักษาการแพทย์กระแสหลักตามการนัดหมาย รับการกระตุ้นพัฒนาการ บริการการนวดบำบัด และใช้ยาสมุนไพร ซึ่งรัฐควรมีการขยายผลและจัดบริการการแพทย์แผนไทยแก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในบริการสุขภาพปฐมภูมิ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**