การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของยาดำและยาดำสะตุต่อไรทะเล

ศรายุทธ สถานอุ่น

Abstract


ยาดำเป็นพฤกษวัตถุที่ได้จากพืชจำพวกว่านหางจระเข้ นำมาแทรกเป็นยาถ่ายในตำรับยาไทยหลายตำรับ ก่อนนำมาใช้ตำราเภสัชกรรมแผนไทยระบุไว้ว่าจะต้องผ่านกระบวนการสะตุเพื่อลดความเป็นพิษของตัวยาก่อน การสะตุยาดำเป็นการน้ำยาดำมาผ่านความร้อน มีวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ 1)การสะตุด้วยน้ำเปล่า 2)การสะตุด้วยการห่อใบข่า และ3) การสะตุด้วยน้ำมะกรูด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน (Lethality concentration; LC50) ของยาดำและยาดำสะตุโดยใช้ Brine shrimp lethality assay และเปรียบเทียบความเป็นพิษเฉียบพลัน (LC50) ของยาดำที่ผ่านการสะตุแล้วทั้ง 3 วิธี โดยเตรียมเป็นสารละลายเข้มข้น 10, 100, 1000 และ1,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร คำนวณค่าLC50 โดยใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นตรง เปรียบเทียบค่า LC50 ของสารละลายยาดำและยาดำสะตุ ทั้ง 3 วิธี โดยใช้ สถิติ one-wayanova ผลการวิจัยพบว่าที่เวลา 6 ชั่วโมงสารละลายยาดำมีค่า LC50 เท่ากับ 4.61 x 104 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนยาดำที่สะตุด้วยน้ำเปล่าใบข่าและน้ำมะกรูดมีค่า LC50 เท่ากับ 4.73 x 104 4.81 x 104 และ 4.78 x 104 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ ที่เวลา 12 ชั่วโมง สารละลายยาดำมีค่า LC50 เท่ากับ 4.19 x 104 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนยาดำที่สะตุด้วยน้ำเปล่าใบข่าและน้ำมะกรูดมีค่า LC50 เท่ากับ 4.41 x 104 และ 4.33 x 1044.34 x 104 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ สรุปผลการวิจัย: สารละลายยาดำที่สะตุด้วยใบข่ามีค่า LC50 มากที่สุดแสดงว่ามีค่าความเป็นพิษเฉียบพลันต่อไรทะเลน้อยที่สุดส่วนสารละลายยาดำที่ยังไม่ผ่าการสะตุมีค่า LC50 น้อยที่สุดแสดงว่ามีพิษเฉียบพลันต่อไรทะเลมากที่สุดและยาดำหลังสะตุแล้วสามรถลดความเป็นพิษของยาลงได้จริง(p = 0.023)

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**