การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ กับประสิทธิผลองค์การ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Abstract
การวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ กับประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ กับประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ กับประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 3) เพื่อนำมาเสนอเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 350 คน ประกอบด้วย บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r)
ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านการมุ่งเน้นต่อผลสัมฤทธิ์ ด้านการมุ่งความเป็นเลิศ สู่องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง ด้านความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ และการสร้างแรงจูงใจและให้รางวัลตอบแทน ตามลำดับ
2) ประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ประสิทธิผลองค์การด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ประสิทธิผลองค์การด้านกระบวนการภายใน ประสิทธิผลองค์การด้านการเงิน และประสิทธิผลองค์การด้านลูกค้า
3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กับประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในความคิดเห็นของบุคลากร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทิศทางบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.885 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ด้านความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ และด้านการมุ่งความเป็นเลิศ สู่องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทิศทางบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.852 และ 0.828 ตามลำดับ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงFull Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**