ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพกับการสร้างปฏิสัมพันธ์เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน

จิระวดี สินทร

Abstract


การพัฒนางานโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผ่านกระบวนการ PLC ที่เน้นการสื่อสารและการสร้างปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในองค์กร เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้สมาชิกขององค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม ตัดสินใจ ในการปฏิบัติงานและการร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีวิวัฒนาการมาจาก แนวคิดการบริหารเชิงมนุษยสัมพันธ์ (Human relation approach) และการบริหารเชิงพฤติกรรม (Behavioral approach) โดยแบ่งลักษณะของการมีส่วนร่วมไว้ 4 ประเภท ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2) การมีสวนร่วมในการปฏิบัติ 3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ซึ่งบุคคลจะมีส่วนร่วม ในกิจกรรมมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สําคัญ                              2 ประการ ได้แก่  ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากจะช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเกิดความรู้สึกความเป็นเจ้าของ และจะทำให้ผู้มีส่วนร่วม หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ยินยอมปฏิบัติตาม และรวมถึงตกลงยอมรับได้อย่างสมัครใจ เต็มใจ และสบายใจ อย่างไรก็ตาม การมีบริหารแบบมีส่วนร่วมมีข้อจำกัดในตัวเอง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกัน ดังนั้น จึงควรพัฒนาทักษะการประสานงานกับบุคคลอื่น โดยเริ่มจากการสร้างสัมพันธ์ที่ดีเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้การบริหารแบบมีส่วนร่วมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**