ผลของการแช่เท้าในน้ำสมุนไพรต่ออาการชาและการไหลเวียนโลหิตที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

สุพัตราพร คุ้มทรัพย์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบ่งเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของรูปแบบการแช่เท้าในน้ำสมุนไพรต่ออาการชาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2  กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการชาเท้าตั้งแต่ 1 จุด จำนวน 20 คน ที่มารับบริการ เกณฑ์คัดเข้าคือ เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 40-70 ปีมีระดับปริมาณน้ำตาลในเลือดระหว่าง 140-190 mg/dl FBS (Fasting  blood sugar) ไม่เป็นผู้สูญเสียประสาทรับรู้อุณหภูมิได้รับการรักษาโรคเบาหวานด้วยวิธีการรับประทานยายินยอมและให้ความร่วมมือในการรักษาโดยการ เกณฑ์คัดออกคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าและมีประวัติการตัดเท้า เท้าบวมและมีโรคแทรกซ้อนการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive  sampling ) โดยสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการและเครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยเบาหวาน ข้อมูลประวัติการเจ็บป่วย และแบบบันทึกอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ประเมินผู้ป่วยโดยการใช้ Monofilament 10 g. ตรวจตาปลา หนังหนา แผล และคลำชีพจรบริเวณหลังเท้าทั้ง 2 ข้าง รักษาโดยการแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรครั้งละ 15-20 นาที/วัน จำนวน 7 ครั้ง ศึกษา ผลของรูปแบบการแช่เท้าในน้ำสมุนไพรต่ออาการชาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2   พบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 40-90 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา อาชีพเกษตรกร รายได้ครอบครัวต่อเดือน ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ระยะเวลาที่มีอาการชาจากโรคเบาหวานนานกว่า 2 ปี อาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานหลังการแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรลดลงในครั้งที่ 4 อย่างน้อย 1 จุด

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**