หลักการบริหารในพระสุตตันตปิฎก

สิรินทร์ กันยาวิริยะ, เมธา หริมเทพาธิป, กีรติ บุญเจือ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการบริหารในพระสุตตันตปิฎก ผลการวิจัยพบว่า การบริหารทั่วไปเป็นการบริหารที่มีหลายรูปแบบแต่เน้นที่ความสำเร็จเป็นจุดหมาย  ส่วนการบริหารในพระไตรปิฎกนั้น ก็เน้นที่การฝึกฝนข่มจิตใจของตนให้อยู่เหนืออารมณ์ โดยฝึกทั้งศีลมีการรักษากิริยามรรยาท  สมาธิ ทำจิตใจให้มั่นคงอย่าหวั่นไหวกับสิ่งที่เข้ามากระทบ ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และเจริญปัญญาให้รู้เท่าทัน รู้เหตุ รู้ผล ไม่เป็นทาสของอารมณ์ รู้จักประยุกต์หลักธรรมมาใช้อย่างรัดกุม ใช้ปัญญากับการแก้ปัญหาในทุกสถานการณ์ รู้จักรักษากิริยามรรยาทตนเอง ให้ดี (การครองตน) แล้วค่อยสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม  ด้วยการปรารถนาดีต่อผู้อื่นโดยใช้คุณธรรม มีการเอาใจใส่สมาชิกในองค์กร รู้จักปลุกปลอบใจให้กำลังใจกันและกัน (การครองคน) รู้จักใช้บุคคลตามความสามารถของบุคคลเป็นการบริหารงานบุคคล การปกครองก็ด้วยหลักแห่งธรรมาธิปไตย (การครองงาน)  เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม เกิดประโยชน์แก่บุคคล แก่สังคมหมู่ใหญ่ แก่มวลมนุษย์ชาติ  เพื่อให้เกิดความดีงาม  ยึดถือคุณธรรมเป็นหลักในการปกครอง แล้วอาศัยคุณธรรมต่าง ๆ เป็นเครื่องสนับสนุนเกื้อกูล  เคารพธรรมเนียมนิยมของกันและกัน  มุ่งผลคือความสามัคคีและสันติสุข  เป็นการบริหารที่ทรงคุณค่า  ไม่มีวันหล้าสมัย ไม่จำกัดกาลและเวลา

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**