การบริหารจัดการและการเก็บวัตถุพยานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม

วารุณี สายทอง, ณิช วงศ์ส่องจ้า, ณรงค์ กุลนิเทศ

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การบริหารจัดการและการเก็บวัตถุพยานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ 2. ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคจากการปฏิบัติงานการบริหารจัดการและการเก็บวัตถุพยานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ 3. ศึกษาแนวทางและการวางแผนพัฒนาการบริหารจัดการและการเก็บวัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บวัตถุพยานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์                               

ผลการวิจัย

การบริหารจัดการและการเก็บวัตถุพยานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เริ่มจากการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานจากสถานที่เกิดเหตุ เมื่อได้พยานหลักฐานแล้วจึงส่งไปตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ ผ่านทางกลุ่มบริหารจัดการวัตถุพยาน โดยดำเนินการรับวัตถุพยานส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการ รับผลการตรวจพิสูจน์จากห้องปฏิบัติการ จ่ายผลการตรวจพิสูจน์ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพโดยมีการวางแผนด้วยการลดขั้นตอนในการดำเนินงานและเป็นไปตามระบบคุณภาพ ISO 9001:2015  โดยมีระบบ MIS ในการบริหารจัดการข้อมูลคดีและข้อมูลวัตถุพยาน พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคจากการปฏิบัติงานในส่วนของ เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์มีราคาสูง ไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานนิติวิทยาศาสตร์ระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน มีบุคลากรที่โอนมาจากหลายหน่วยงานทำให้มีวัฒนธรรมการทำงานที่ต่างกัน ด้านแนวทางและการวางแผน ต้องกำหนดหลักสูตรการพัฒนาทั้งด้านวิชาการและปฏิบัติการของนักนิติวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจน  มีคู่มือการปฏิบัติงานและขั้นตอนอย่างละเอียดตามแนวทางสากล ขั้นตอนทุกด้านมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดมาตรฐาน โปร่งใส ตรวจสอบได้


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**