จริยธรรมของนักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ

พรรณิลัย นิติโรจน์

Abstract


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่านักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะที่มีจริยธรรมสามารถวิเคราะห์ทางเลือกนโยบายที่ผู้ตัดสินใจนโยบายเลือกกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะที่ดี ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงความต้องการของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียได้  โดยใช้แนวทางการเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิ (secondary data)  โดยการค้นคว้าข้อมูลเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งเอกสารราชการ (public archives) และเอกสารส่วนตัวหรือเอกสารของเอกชนต่างๆ (private archives) ตำรา บทความ งานวิจัย เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ โดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อหาคำตอบตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ ให้มีความเที่ยงตรง น่าเชื่อถือมากที่สุด

ผลที่ได้รับจากการศึกษา พบว่า จริยธรรมของนักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะที่ดีนั้น ควรกำหนดทางเลือกที่ให้ประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม (Participatory Public Policy Process = PPPP = 4P)  ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นกระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางสังคม และกระบวนการทางศีลธรรม ข้อสรุปจากข้อค้นพบ แสดงให้เห็นว่า กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ คือหัวใจของความสำเร็จ

โดยส่วนใหญ่กระบวนการมีส่วนร่วมจะเกิดขึ้นจากบนลงล่าง (Top-Down) ซึ่งจะก่อให้เกิดการคัดค้าน ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้อง แต่จาก กรณีของการจัดการและการใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ป่าสาคู ในลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง นั้นถือได้ว่าเป็นนโยบาย แผนงาน โครงการที่ดี และมีจริยธรรม ตามแนวความคิดของ Eyestone และ ประเวศ วะสี และถือได้ว่านักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะในเรื่องดังกล่าวมีจริยธรรมในการวิเคราะห์ ทำให้เกิดนโยบายสาธารณะที่มีจริยธรรมในที่สุด


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**