อิทธิพลภาวะผู้นำ แรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร และความสามารถเชาว์ปัญญาที่มีผลต่อการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการราชทัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในเรือนจำกลางบางขวาง

วรดา วสันต์นันทสิริ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำ แรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร ความสามารถเชาว์ปัญญาและการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการราชทัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในเรือนจำกลางบางขวาง 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภาวะผู้นำ แรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร และความสามารถเชาว์ปัญญา ที่มีผลต่อการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการราชทัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในเรือนจำกลางบางขวางโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้กลุ่มประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงานในเรือนจำบางกลางขวาง จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.747 – 0.975 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ข้าราชการปัจจุบันที่ได้รับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในเรือนจำกลางบางขวางมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำ แรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร ความสามารถเชาว์ปัญญาและการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการราชทัณฑ์ของอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างมาก 2) แบบจำลองสมการโครงสร้าง พบว่า การปฏิบัติจรรยาข้าราชการราชทัณฑ์ได้รับอิทธิพลทางตรงจากความผูกพันต่อองค์กรและการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการราชทัณฑ์ มีความสัมพันธ์กับความสามารถเชาว์ปัญญา แรงจูงใจในการทำงาน  ความผูกพันในองค์กร และภาวะผู้นำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและสามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ได้ ร้อยละ 82.2 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ มีผลสอดคล้องกับข้อมูล     เชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดีของผู้นำ จะส่งเสริมและกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่เกิดพฤติกรรมไปในทิศทางเดียวกัน และหากได้รับการยอมรับจากบุคคลรอบข้าง รวมทั้งรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ก็จะทำให้มีแรงจูงใจพร้อมที่จะช่วยเหลือ ปกป้ององค์กร

Keywords


ภาวะผู้นำ แรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร ความสามารถเชาว์ปัญญาการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการราชทัณฑ์

Full Text:

Untitled

References


มนตรี บุญนาค. (2552). แนวโน้มการกระทําผิดวินัยและกระทําผิดกฎหมายอาญาของผู้ต้องขังภายในเรือนจําความมั่นคงสูง : ปัจจัยสาเหตุ ผลลัพธ์ที:เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปวีณ ณ นคร. (2546). เอกสารการสอนวิชาการปกครองท้องถิ่นไทย.นนทบุรีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภมาสอังศุโชติ, สมถวิลวิจิตรวรรณาและรัชนีกูลภิญโญภานุวัฒน์ (2554). สถิติวิเคราะห์สาหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

Bollen, K.A. (1989). Structural Equations with Latent Variables.NJ: Wliey.

Diamantopoulos, A., &Siguaw, A.D. (2000).Introducing LISREL: A guide for the uninitiated.Sage Publications, London.

Hair, J.F., Anderson, R.E., Tatham, R.L., & Black, W.C. (1998).Multivariate Data Analysis (5th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Joreskog, K., Sorbom, D.(1996). LISREL8: Structural Equation Modeling With the Simplis Command Language. Chicago: Scientific Softwere International.

Kaplan, D. (2000). Structural Equation model: Foundation and extensions. Sage publications, Thousand Oake.

SilvanaIaninska, Jean-Claude Garcia-Zamor. (2006). Public Organization Review , vol. 6, no. 1, pp. 3-20.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง