ทัศนคติของผู้รับบริการต่อการให้บริการจัดเก็บภาษี กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลสระใคร อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย
Abstract
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้รับบริการต่อการให้บริการจัดเก็บภาษี กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลสระใคร อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย และเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับทัศนคติของผู้รับบริการต่อการให้บริการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลสระใคร ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เสียภาษีที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนคุมผู้ชำระภาษีให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลสระใคร จำนวน 309 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ และมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความถูกต้องโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า
1) ประชาชนผู้รับบริการงานจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลสระใคร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41-50 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษามัธยมศึกษา มีอาชีพเกษตรกร และมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า-10,000 บาท
2) ทัศนคติของผู้รับบริการต่อการให้บริการจัดเก็บภาษีขององค์การบริการส่วนตำบลสระใคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ด้านบุคลากร เจ้าหน้าที่อัธยาศัยดี พูดจาเรียบร้อย สุภาพ เป็นอันดับแรก ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมีความกระตือรือร้นในการให้บริการ ด้านกระบวนการ การให้บริการเป็นไปตามลำดับก่อนหลังอย่างยุติธรรม ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีแผนผังแสดงขั้นตอนในการติดต่อชำระภาษีอย่างชัดเจน ด้านราคา ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ อัตราภาษีป้ายที่ใช้ในการจัดเก็บมีความเหมาะสม และอัตราภาษีบำรุงท้องที่ที่ใช้ในการจัดเก็บมีความเหมาะสม ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การประเมินภาษีป้ายมีความเหมาะสมและเป็นธรรม ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ทำเลที่ตั้งของสถานที่มีความสะดวกสบายในการเดินทางมาติดต่อหรือขอรับบริการ ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการตกแต่งสถานที่อย่างเหมาะสม ด้านลักษณะทางกายภาพ ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สถานที่จอดรถสะดวกและค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สภาพห้องน้ำสะอาดและเพียงพอ ด้านผลิตภัณฑ์ ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การให้บริการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้ายถึงบ้าน และการให้บริการความสะดวกในการกรอกแบบฟอร์มยื่นแบบชำระภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การให้บริการรับชำระภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้ายในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ ด้านส่งเสริมการตลาด ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีป้ายประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการชำระภาษีทุกปี ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการแจกของสมนาคุณแก่ผู้มาชำระภาษีภายในกำหนดระยะเวลาการเสียภาษี
3) เปรียบเทียบทัศคติของผู้รับบริการต่อการให้บริการจัดเก็บภาษี กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลสระใคร อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย กับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกันมีทัศนคติต่อการให้บริการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลสระใคร อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนอาชีพต่างกัน มีทัศนคติต่อการให้บริการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลสระใคร อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร และด้านสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน ด้านกระบวนการKeywords
Full Text:
UntitledReferences
การปกครอง, กรม. (2475). คู่มือปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน กรุงเทพฯ: ส่วนท้องถิ่น.
คริสโตเฟอร์ เอช เลิฟล้อก และลอเรน ไรท์. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไซน่า.
จรัส สุวรรณมาลา. (2539). การตรวจสอบผลการดำเนินงาน : กลยุทธ์ในการปรับปรุงบริการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงานเลขานุการ.
จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2544). จิตวิทยาการบริการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ประเสริฐ เล็กสรรเสริญ. (2545). ความพึงพอใจต่อการบริการในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า จังหวัดนนทบุรี. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคนอื่น ๆ. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Kotler, Philip. (1994). Marketing management. Englewood Cliffs: Prentice Hall.
Peter, J. Paul and James H.Donnelly, Jr. (2004). Marketing management : knowledge and skills. 7th ed. Boston: McGraw-Hill.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง