ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 350 คน และวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุให้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยเทคนิกการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงเส้น
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบด้านปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาประกอบด้วย 1.1 ปัจจัยด้านบุคคล (Personal) และ 1.2 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.17 – 0.85 ประกอบด้วย ด้านบุคคล โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.37 ถึง 4.24 และด้านสิ่งแวดล้อม โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.16 ถึง 0.55 และปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 81.15; p=0.00145 ที่องศาอิสระเท่ากับ 47 และดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.96 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.044 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ตัวแปรตาม คือ ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษามีค่าเท่ากับ 0.99 แสดงว่าตัวแปรในโมเลสามารถอธิบาย ความแปรปรวนของตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาได้ร้อยละ 99Keywords
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; วิชาวิทยาศาสตร์
Full Text:
PDFReferences
Rosenberg&Hovland. (1960). Psychosocial Factor in Drug Use Among Community college Student. Dissertation Abstracts. 31(9), 5455-5456.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง