รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา

ธัญวรัตน์ อุทโท

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี มีความมุ่งหมายเพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2) เพื่อประเมินผลประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษามีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอนคือขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และสภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 297 คนและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนประถมศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบ และความถูกต้อง และความเหมาะสมของรูปแบบ จำนวน 17 คน และขั้นตอนที่ 3การประเมินผลประสิทธิภาพของรูปแบบโดยผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 56 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีค่า IOC. อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการศึกษา
1. ขั้นตอนที่ 1 สภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อม และ ด้านการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผล ด้านการกำหนดนโยบาย, วิสัยทัศน์พัฒนาการคิด ด้านการสนับสนุนทรัพยากร และด้านการพัฒนาบุคลากร ตามลำดับ
2. ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า
2.1 องค์ประกอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ดังนี้1) โครงการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นรูปธรรม2) การพัฒนาสาระของหลักสูตรสถานศึกษาให้ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ชุมชน และท้องถิ่น 3) การสนับสนุนส่งเสริมให้ครูมีความรู้ และทักษะในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์4) การส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย และกระตุ้นให้นำนวัตกรรม และเทคโนโลยี ไปใช้เพื่อการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 5)การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนกับครู และนักเรียนกับนักเรียนและ 6) การประกันคุณภาพการศึกษาโดยเน้นการคิดวิเคราะห์
2.2 ความคิดเห็นที่มีต่อองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ร้อยละ 97.00 ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา
2.3 ความถูกต้อง และความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3. ขั้นตอนที่ 3การประเมินผลประสิทธิภาพของรูปแบบโดยผู้บริหารสถานศึกษาในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้โดยผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก


Keywords


รูปแบบ, การส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนประถมศึกษา

Full Text:

Untitled

References


กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

_______. (2549ข). รายงานการสังเคราะห์แนวคิดและวิธีจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 .กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

จุรีย์รัตน์สิงห์สมบัติ. (2551). ผลการเรียนรู้เรื่องกรด-เบสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายแบบเว็บเควสท์.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา.มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนาแขมมณี. (2545). วิทยาการด้านการคิด.กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ธวัช แก้วมณีชัย. (2542). การประเมินโครงการปฏิรูประบบการจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดนครพนม.รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรียานุช สถาวรมณี. (2548). การพัฒนากิจกรรมในหลักสูตร เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน.ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรีชา คัมภีรปกรณ์. (2545). ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารทรัพยากรการศึกษาหน่วยที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รุ้งลาวัณย์จันทรัตนา.(2557).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะการคิดนอกกรอบของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. รายงานวิจัย. ยะลา: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิภาวรรณใหญ่สมบูรณ์. (2554). ผลของการสอนบนเว็บที่มีต่อการพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริกาญจน์ ธนวุฒิพรพินิต. (2557). “รูปแบบการบริหารการจัดการความรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ของเด็กสำหรับครูประถมศึกษา”.วารสารวิจัยทางการศึกษา.8,(3): 212-222.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (2558). ข้อมูลสารสนเทศออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558, จาก http: //www. ptt2. go. th/main/#

______. (2558). รายงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา. ปทุมธานี: อัดสำเนา.

อัสนีย์อัจฉริยบุตร. (2546). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี.ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Eisner, E. (1976). “Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Function in Educational Evaluation”. Journal of Aesthetic Educational, Retrieved May 25, 2012.

Jerry, E. (1996). A Process for Effective Graphic Design Curriculum Development.Dissertation Abstracts International.11,(4), 4254-A.

Krejcie, Robert V.; & Morgan,Darvle N. (1970).“Determining Sample Size for Research Activities” in Educational and Psychological Measurement.30: 607-610.

Madaus, G. F. ;Scriven, M. S.; &Stufflebeam, D.L. (1983). Evaluation Models Viewpoint son Educational and Human Services Evaluation.8thed., Boston: Khuwer-NijhoffPublishing.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง