การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมภาวะผู้นำของ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1.เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้ในการส่งเสริมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี ๓. เพื่อบูรณาการการส่งเสริมภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้วิจัยได้ศึกษาโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed-Method Research Design) การสัมภาษณ์บุคคลแบบเจาะลึก (In-depth interview) จำนวน ๒๕ คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มคณะกรรมการ และพระสงฆ์ผู้เกี่ยวข้องโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๘ รูป/คน
ผลการวิจัย
ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ในระดับมากทุกข้อ คือ ข้อที่ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูผู้สอน มีความคิดเห็นในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ภาวะผู้นำด้านการสร้างแรงจูงใจ ภาวะผู้นำด้านมนุษยสัมพันธ์ ภาวะผู้นำด้านการตัดสินใจ ภาวะผู้นำด้านภาวะผู้การเปลี่ยนแปลงและข้อที่มีความคิดเห็น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ภาวะผู้นำด้านการติดต่อสื่อสาร เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการและครูผู้สอน มีความคิดเห็นในระดับมาก
1. ภาวะผู้นำด้านการตัดสินใจ ผู้บริหารมีคุณธรรมและจริยธรรมในการตัดสินใจให้รางวัลและลงโทษการบริหารงานในองค์กร ผู้บริหารศักยภาพในการตัดสินใจในการบริหารงาน บนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่สังคมยอมรับ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำในการรับผิดชอบหน้าที่การบริหารงาน
2. ภาวะผู้นำด้านการสร้างแรงจูงใจ ผู้บริหารได้รับการยกย่อง นับถือจากผู้ใต้บังคับบัญชาในการคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ผู้บริหารพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในองค์กรด้วยการสร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีคุณภาพ ผู้บริหารพอใจกับข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชาในการมีส่วนร่วมในการทำงาน
3. ภาวะผู้นำด้านการติดต่อสื่อสาร ผู้บริหารมีระบบการสื่อสารได้หลากหลายวิธี เช่น เทคโนโลยี ผู้บริหารยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อติดต่อสื่อสารให้เข้าถึงบุคคล ผู้บริหารสามารถสื่อสาร สั่งงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ภาวะผู้นำด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียนและนำกลับมาพัฒนาเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงวิธี เช่น เทคโนโลยี ผู้บริหารเปลี่ยนทัศนคติเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการบริหารสำนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้บริหารศึกษาแนวคิดทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มการรับนักเรียนเข้ามาเรียนในโรงเรียนของตนเอง
5. ภาวะผู้นำด้านมนุษยสัมพันธ์ ผู้บริหารสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนด้วยดี ผู้บริหารสร้างทักษะผู้นำที่ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะขององค์กร ผู้บริหารยิ้มแย้ม แจ่มใสกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างยุติธรรม และข้อที่มีความคิดเห็น
หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการส่งเสริมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี
ศีล 4 ส่งเสริมภาวะผู้นำด้านการตัดสินใจฯ ด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านมนุษยสัมพันธ์ พรหมวิหาร 4 ส่งเสริมภาวะผู้นำด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านมนุษยสัมพันธ์ สัปปุริสธรรม ๗ ส่งเสริมภาวะผู้นำด้านการตัดสินใจฯ ด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านมนุษยสัมพันธ์ สังคหวัตถุ 4 ส่งเสริมภาวะผู้นำด้านการตัดสินใจฯ ด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านมนุษยสัมพันธ์ อิทธิบาท 4 ส่งเสริมภาวะผู้นำด้านสร้างแรงจูงใจ และด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อปริหานิยธรรม 7 ส่งเสริมภาวะผู้นำด้านสร้างแรงจูงใจ และด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และไตรสิกขา ส่งเสริมภาวะผู้นำด้านการตัดสินใจฯ ด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านมนุษยสัมพันธ์
บูรณาการการส่งเสริมภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี
การบูรณาการส่งเสริมภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำด้านการตัดสินใจ ภาวะผู้นำด้านการสร้างแรงจูงใจ ภาวะผู้นำด้านการติดต่อสื่อสาร ภาวะผู้นำด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำด้านมนุษยสัมพันธ์ และปฏิบัติตามหลักศีล 5 พรหมวิหาร 4 สัปปุริสธรรม 7 สังคหวัตถุ 4 อิทธิบาท 4 อปริหานิยธรรม 7 และไตรสิกขา 3 หลักพุทธธรรมเหล่านี้เป็นหลักพุทธธรรมที่ผู้บริหารควรยึดถือปฏิบัติเพื่อเป็นตัวอย่างและเป็นผู้บริหารที่ดี บริหารโรงเรียนให้ประสบผลสำเร็จโดยลงมือปฏิบัติ เป็นแบบอย่างด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่การปฏิบัติ การประเมินผลการปฏิบัติด้วยตนเอง และให้ครูและนักเรียนประเมินผลให้กับการประพฤติ ปฏิบัติให้กับตนเอง เพื่อช่วยให้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีศักยภาพและนำพาโรงเรียนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก, ๒๕๔๒.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี, ๒๕๕๒.
บุญชม ศรีสะอาด. วิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์นการพิมพ์, ๒๕๓๕.
สุภางค์ จันทวานิช. วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ๒๕๔๐ .
บำรุง แสนณรงค์. “การศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตคลองสาน สังกัดกรุงเทพมหานคร” สารนิพนธ์ กศ.ม.การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๒๕๕๐.
สัมภาษณ์, นายประจวบ หลีนุกูล. ผู้อำนวยการโรงเรียนสงวนหญิง. เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๘.
สัมภาษณ์, นางสาวฉันทนา พิพัฒน์บรรณกิจ, ผู้อำนวยการโรงเรียนอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๘.
พระวันชัย ธนวํโส (กัณหะกาญจนะ). “ลักษณะทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา. ”วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง