โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลองค์การของโรงพยาบาลเอกชนในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ดร.ลาวัลย์ ต้นสกุลรุ่งเรือง

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะ คุณลักษณะของพนักงาน ความผูกพันต่อองค์การ การจัดการ และประสิทธิผลองค์การของโรงพยาบาลเอกชนในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลองค์การของโรงพยาบาลเอกชนในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลองค์การกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากแบบสอบถามที่สุ่มตัวอย่างโดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานของโรงพยาบาลเอกชนในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานครแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลและการทดสอบสมมติฐานใช้โปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูป

ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ คือ สมรรถนะ คุณลักษณะของพนักงาน ความผูกพันต่อองค์การ และการจัดการ และ 2) ตัวชี้วัดประสิทธิผลองค์การ คือ ผลลัพธ์เฉพาะบุคคล การบรรลุเป้าหมาย การปฏิบัติงานมีผลสัมฤทธิ์สูง และผู้รับบริการพึงพอใจ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุองค์การของโรงพยาบาลเอกชนในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบอิทธิพลย้อนกลับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุสามารถทำนายประสิทธิผลองค์การได้ ร้อยละ 65.3


Keywords


โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลองค์การ, ประสิทธิผลองค์การ, โรงพยาบาลเอกชน

Full Text:

Untitled

References


เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2557). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในประเทศไทย งานวิจัยสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ธนยุทธ บุตรขวัญ (2554) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ การค้นคว้าอิสระสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร. ซีเอHfยูเคชั่น

แสงดาว ถุงคำ (2553) ที่ศึกษาคุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ และทักษะของพนักงานที่มีผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท บราโว เอเชีย จำกัด สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

De Cenzo, D. A., & Robbins, S.P. (2005). Fundamentals of Human Resource Management, 8th Edition. Wiley.

Drucker, P. F. (2006). Classic Drucker.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R.L., & Black, W. C., (1998). Multivariate Data Analysis, 5th Edition. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

McClelland, D.C. (1973). “Testing for Competence rather than for Intelligence,” American Psychologist. 28, 1 – 14.

Odumeru, JA, & Ilesanmi, OA. (2014). The Effects of Human Resources Development on Financial Performance of Organizations. Asian Business Review, 2, pp.19-23.

Steers, R. M. (1977). Organizational Effectiveness: A behavior view, Santa Monica, CA. Goodyear publishing.

Ulrich, D. (1997). Human Resource Champions: The Next Agenda for Adding Value and Delivering Results.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง