รูปแบบการจัดการการรักษาความปลอดภัย ในการแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก

พันเอกสถาพร สุขสมบูรณ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อประเมินผลข้อมูลความต้องการสภาพแวดล้อมการดำเนินงานและความจำเป็นในการพัฒนาตัวแบบการจัดการกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยของการแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยในการแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการการรักษาความปลอดภัยในการแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก สู่ความเป็นมาตรฐานสากล  เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิจัย เชิงสำรวจ (Survey Research) จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ผู้บริหารสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลที่เข้าแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก ปี 2558 นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน ผู้จัดการทีมและผู้ช่วย สมาชิกสโมสร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการรักษาความปลอดภัยของสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

 

ผลการวิจัยพบว่า

1.   ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเห็นว่ามีความจำเป็นในการที่จะต้องพัฒนาตัวแบบการจัดการกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยของการแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก คิดเป็นร้อยละ 100

2.   รูปแบบการจัดการการรักษาความปลอดภัยในการแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะมีองค์ประกอบด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ด้านการจัดการเชิงระบบ ด้านการจัดการความเสี่ยง ด้านการรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน เพื่อการรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

3.             การประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการจัดการกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยในการแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีกไปปฏิบัติ ควรประกอบด้วยเทคนิคในการปฏิบัติงานกลุ่มการจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคนิคในการปฏิบัติงานกลุ่มการจัดการเชิงระบบ เทคนิคในการปฏิบัติงานกลุ่มการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรูปแบบการจัดการการรักษาความปลอดภัยในการแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก ที่เหมาะสม สำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาการรักษาความปลอดภัย

Keywords


การจัดการ, การรักษาความปลอดภัย, การแข่งขันฟุตบอลอาชีพ

Full Text:

Untitled

References


กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสารจำกัด

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล:สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ปิติเทพ อยู่ยืนยง. (2556). มาตรการและการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 : กรณีศึกษาในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หน้า 53-76

AFC. (2011). มาตรฐานตามเกณฑ์ของ Asian Football Confederation. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559 จากhttp//www.thaipremlerleague.co.th.

Hamm.J. (2010). Steve. More To Life than The Office It's being updated furiously, but Microsoft's once-irreplaceable program now has some viable rivals [Online]. 2006. Available from: http://www.businessweek.com/magazine/content/06_27/b3991412.htm [2015, June 21]

Matheson, K. (2006). Predicting User Intentions: Comparing the Technology Acceptance Model with the Theory of Planned Behavior. Information Systems Research 2(3): 173-191. Cited in Venkatesh et al. 2003. User Acceptance of Information Technology: Toward a Unified View. MIS Quarterly Journal 27(September): 452.

Premier league. (2011). คู่มือการแข่งขันลีกอาชีพของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อสืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559 จากhttp//www.thaipremlerleague.co.th.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง