กลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวของผู้ประกอบการท่องเที่ยวภาคตะวันออกของประเทศไทย

พระสมบัติ ระสารักษ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการโรงแรม ภาคตะวันออกของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการโรงแรม ภาคตะวันออกของประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษากลยุทธ์การแข่งขันที่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานทางธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวประเภทโรงแรมของไทยในเขตภาคตะวันออกผู้วิจัยใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณผสมผสานกับเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ศึกษาคือ ผู้ประกอบการโรงแรมในภาคตะวันออกของไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด และจังหวัดระยอง ตามลำดับ ซึ่งมีจำนวนโรงแรมมากที่สุดในภาคตะวันออก 3 อันดับรวมกันประมาณร้อยละ 80 จากทั้งหมด จำนวน  549 แห่งในจังหวัดชลบุรี มีจำนวนโรงแรม 391 แห่ง จังหวัดตราด มีจำนวนโรงแรมรวมทั้งสิ้น 107 แห่ง และจังหวัดระยอง มีจำนวนโรงแรม 51 แห่ง โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 370  ตัวอย่างโดยใช้การคำนวณตามสูตรการสุ่มตัวอย่างของ ยามาเน่ เครื่องมือในการวิจัยจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป สถิติการหาค่าสหสัมพันธ์ และสัมประสิทธิถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการโรงแรม ภาคตะวันออกของประเทศไทย  ผลการวิเคราะห์พบว่ามีผลเฉลี่ยอยู่ในระดับ  ปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  คือ  องค์กรของท่านมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมสามารถขายได้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  คือ  ท่านมีส่วนในการพิจารณาจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์กร  ความต้องการของตลาด  และความสำคัญเร่งด่วนเชิงการแข่งขัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการโรงแรม ภาคตะวันออกของประเทศไทย ผลการวิเคราะห์พบว่า  โดยภาพรวมอยู่ในระดับ  มาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  คือ  ท่านมีความคิดเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขององค์กรท่านมีลักษณะทางกายภาพที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้จากสื่อต่างๆ  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  คือ  ท่านมีความเห็นว่าองค์กรของท่านมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการอยู่เป็นประจำเพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่แปลกใหม่เสมอๆ  กลยุทธ์การแข่งขันที่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานทางธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวประเภทโรงแรมของไทยในเขตภาคตะวันออก ผลการวิเคราะห์พบว่า  ปัจจัยด้านการแข่งขันมีผลต่อผลการดำเนินธุรกิจขององค์กรฯ  อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05, 0.01, 0.001 ในด้านการพัฒนาวิถีทาง  ด้านแรงจูงใจในการดำเนินงาน  และด้านประสบการณ์ในการดำเนินงาน และในด้านทัศนคติในการดำเนินงาน ด้านรูปแบบการดำเนินชีวิต  ไม่มีผลต่อผลการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กรในธุรกิจการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกของไทย อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05  สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลของผลการดำเนินงานทางธุรกิจ ได้ร้อยละ 2.76


Keywords


กลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยว

Full Text:

Untitled

References


กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2540, โครงการดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ, ในเอกสารประกอบการประชุมระดมความคิดเห็นครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : ในวันที่ 23 มิถุนายน 2540 ณ ห้องแกรนด์บอลรูน โรงแรมดิเอมเมอรัลด์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุภางค์ จันทวานิช. 2534. การจัดช่วงชั้นทางสังคม : เกียรติภูมิของอาชีพต่าง ๆ ในสังคม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Soureli,M.,Lewis, B.R. and Karantinou, K.M. (2008) ‘Factors that affect consumers’ cross – buying intention : A model for financial services’, Journal of Marketing.

Hellriegel, D. & Slocum, J.W. 1982. Management (3rd ed.) Sydney: Addison-Wesley.

Booms, B. & Bitner, M. J. (1981). Marketing Strategies and Organizational Structures for Service Firms. Marketing of Services, James H. Donnelly and William R. George, eds. Chicago: American Marketing Association, 47-51.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง