ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความภักดีต่อองค์การของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ณิชกานต์ เพชรปานกัน

Abstract


การศึกษาเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความภักดีต่อองค์การของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความภักดีต่อองค์การ ของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ตำแหน่งงาน และอายุงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความภักดีในองค์การของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ  ด้านการคำนึงถึงประโยชน์และความรับผิดชอบ ต่อสังคม น้อยที่สุดคือด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในการทำงานสำหรับความภักดีต่อองค์การ พบว่าบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามีความภักดีต่อองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับดีโดยข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีระดับความภักดีต่อองค์การสูงที่สุดในด้านนี้   คือ การรักษาผลประโยชน์และชื่อเสียงขององค์การอยู่เสมอ ต่ำสุดคือรู้สึกพอใจในอัตราการขึ้นเงินเดือนและผลตอบแทนประจำปี ด้านความรู้สึกโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีระดับความภักดีต่อองค์การสูงที่สุดในด้านนี้ คือ มีความสุขที่ได้ทำงานกับองค์การแห่งนี้ ต่ำสุขคือ รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญต่อองค์การเท่าเทียมกับบุคคลอื่นและด้านการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับดีโดยข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีระดับความภักดีต่อองค์การสูงที่สุดในด้านนี้ ได้แก่ มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในองค์การและผู้บังคับบัญชาของท่าน ต่ำสุดคือ ผู้บังคับบัญชาให้เกียรติเสมอ

Keywords


คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความภักดีต่อองค์การ

Full Text:

Untitled

References


นิศาชล เรืองชู. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีในองค์กรของพนักงานนาคารต่างชาติแห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐยาพัชร์ ลิขิตพิริยะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับวัฒนธรรมองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานของบริษัท โตชิบา แคเรียร์ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ผาณิต สกุลวัฒนะ. (2537). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชชาชีพในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มุฑิตา เครือวัลย์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกับประสิทธิผล โรงเรียนประถมศึกษาเครือข่ายแกลงบูรพา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. งานนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งทิพย์ งานรุ่งชัชวาล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ชาญไพบูลย์ เทรดดิ้ง (1972) จำกัด. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลัดดา อุปพงศ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความยึดมั่นผูกพันในองค์การของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสกนนคร. งานนิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมพร สังข์เพิ่ม. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์) คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริพรรณ ทรงคำ. (2557). คุณภาพชีวิตของบุคลากรในโรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอกัลป์ยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ลูกจ้างชั่วคราวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Hoy, Wayne K.; & Rees, Richard. (1974). Subordinate Loyalty to Immediate Supperior: A Neglected Concept in the Study of Educational Administration. Sociology of Education. 47:274 - 275

Walton, Richard E. (1974, May-June). Improving the Quality of Working Life. Harvard Business Review. 52: 12, 16, 155.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง