กลยุทธ์การพัฒนาร้านค้าปลีก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตาม แนวตะเข็บการค้าชายแดนประเทศไทย

ธนัตถ์สัณห์ พงษ์วร

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยคุณภาพบริการ ทำเลที่ตั้ง ความเสี่ยง ความเพลิดเพลินในการซื้อ ความคุ้มค่าเงิน บรรยากาศภายในร้าน ที่มีผลต่อความพึงพอใจในการซื้อของผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีพื้นที่ติดชายแดนระหว่างไทยกับสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีพื้นที่ติดชายแดนระหว่างไทยกับ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดแผนการสร้างความภักดีของผู้รับบริการที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีพื้นที่ติดชายแดนระหว่างไทยกับสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้วิจัยใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณผสมผสานกับเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการหาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression)

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ด้านการรับรู้จากปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร ในด้านความเสี่ยงและความเพลิดเพลิน ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความคุ้มค่าเงินและด้านบรรยากาศภายในร้านมีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กันทางลบ  ในระดับค่อนข้างต่ำ ด้านความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความภักดีของร้านค้าปลีกดั้งเดิม (โชวห่วย) พบว่ามีความสัมพันธ์กันที่ทางบวก ในระดับ ปานกลาง 


Keywords


กลยุทธ์การพัฒนาร้านค้าปลีก

Full Text:

Untitled

References


กรรณิการ์ ถึงฝั่ง. (2539). คุณภาพของบริการด้านการแพทย์กับแนวคิดทางการตลาด. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 39 (ตุลาคม – ธันวาคม).

เนาวรัตน์ ผาหอมสุข. (2552). ความต้องการและความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาในการใช้บริการ. สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏยะลา.

เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชัย จรรย์ศุภรินทร์ และคณะ. (2548). คู่มือการบริหารความเสี่ยง ชสอ. ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย. จาก http://www.fsct.com.

พานิล. (2551). ผลของการขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ต่อร้านโชวห่วย. สารวิจัยธุรกิจธนาคารกรุงไทย.

พิษณุ จงสถิตย์วัฒนา. (2548). การบริหารการตลาด การวิเคราะห์ กลยุทธ์ และการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล. (2546). การใส่ใจลูกค้าและตลาด .กรุงเทพฯ: ทีคิวเอ็มเบส.

วิทยา ด่านธำรงกุล. (2545). บริการบานใจ. พิมพลักษณ์. กรุงเทพฯ: มติชน.

Aday, Lu Ann & R. Andersen Ronald. (1975). Development of Induces of Access to Medical Care. Michigan Ann Arbor: Health Administration Press.Bauer.

Raymond A. (1960). Consumer Behavior as Risk Taking : In Dynamic Marketing for a Changing World. Edited by R.S.Hancock, Chicago: American Marketing Association.

Gordon C. Bruner II, Karen E. James & Paul J. Hensel. (2001). Marketing Scales Handbook : A compilation of Multi-Item Measures Volum III. Chicago. llinois. American Marketing Association.

William O.Bearden and Richard G. Netemeyer. (1999). Handbook of Marketing Scales : MutiItem Measures for Marketing and Consumer Behavior Research. Sage Publications, California. USA.

Story, M.F., Winters, J.M.W., Premo, B., Kailes. J.I., & Winters, J.M. (2003). Understanding Barriers to Healthcare Caused by Inaccessible Medical Instrumentation. Retrieved December 10, 2006. From http://www.rerc-ami.org/rerc-ami/pubs/ RESN03_ MFS_ Medical.pdf.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง