ทัศนคติพนักงาน ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าองค์กรภาคอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก ของประเทศไทย

พระปลัดกรกต เฉลิมจันทร์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยด้านระดับแนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ภาคอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก ประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับระดับแนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ ระดับของการประเมินของพนักงานต่อ ภาพรวมของผลิตภัณฑ์และการบริการลูกค้า กับระดับความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กรภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประเทศไทย 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร กับระดับความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กรภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประเทศไทย และ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความคิดเห็นของพนักงาน กับระดับความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กรภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประเทศไทย

ผู้วิจัยใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณผสมผสานกับเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างในโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงเลือก เครื่องมือในการวิจัยจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และความถี่ ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ของระดับระดับแนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประเทศไทย ผลเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ความสัมพันธ์ของ ระดับของการประเมินของพนักงานต่อ ภาพรวมของผลิตภัณฑ์และการบริการลูกค้า กับระดับความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กรภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประเทศไทย ผลเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน ส่วนความคิดเห็นของพนักงาน พบว่าระดับความพึงพอใจของพนักงาน โดยผลเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง  ส่วนใหญ่เห็นว่าท่านมีความคิดเห็นว่า กิจกรรม CSR ทำให้องค์กรของท่านสามารถพัฒนาความเข้มแข็งและเกิดจุดเด่นและขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้  ส่วนน้อยเห็นว่า ท่านมีความคิดเห็นว่าพนักงานในองค์กรได้รับผลผลิตและประสิทธิภาพที่องค์กรสร้าง และดูแลความสุข พร้อมกับความสมดุลของสภาพแวดล้อมของที่ทำงานที่มีแต่ความปลอดภัยและมีระบบสาธารณะสุขที่ดี ส่วนอิทธิพลของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประเทศไทย ที่มีต่อระดับความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กร พบว่าระดับ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและความจงรักภักดี โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง


Keywords


ทัศนคติพนักงาน, ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

Full Text:

Untitled

References


จิรภัทร์ จันทร์เรืองเพ็ญ. (2546). การดำเนินงานกิจกรรมสาธารณะของบริษัท เทเลคอมเอเชียคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการการสื่อสารองค์กร, วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จูน วิเศษณัฐ. (2550). การศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างการทำ Corporate Social Responsibility (CSR) ขององค์กรและกลยุทธ์องค์กร. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี. (2550). ความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR):เกื้อกูล ผูกพัน มั่งคั่งและยั่งยืน. กรุงเทพฯ:ส.เจริญการพิมพ์.

Judy Holcomb, Fevzi Okumus & Anil Bilgihan. (2010). Corporate social responsibility.

Maurizio Zollo, et al. (2009). Context: external strategy and internal capability Towards an internal change management perspective of CSR: evidence from project RESPONSE on the sources of cognitive alignment between managers and their stakeholders, and their implications for social performance. Corporate Governance. 9(4), 355-372.

Rachel Dodds & Jacqueline Kuehnel. (2010). CSR among Canadian mass tour operators: good awareness but little action. International Journal of Contemporary Hospitality Management. 22(2), 221-244.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง