คุณภาพการให้บริการของโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย

อารีฟ อาหามะ

Abstract


การศึกษาเรื่อง การพัฒนาคุณภาพการให้บริการของโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการโรงพักสินค้า ศึกษาจากพนักงานชิปปิ้ง(shipping) ตัวแทนจากบริษัทต่าง ๆ จำนวนทั้งหมด125 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-Way ANOVA และ Regression Analysis จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ ดังนี้

ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 125 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุมากกว่า 30 ปี ประสบการณ์ทำงาน 5-9 ปี ประเภทการใช้บริการทำการเปิดตู้สินค้าและฝากเก็บสินค้ากับโรงพักสินค้าการท่าเรือฯและความถี่ในการใช้บริการ 10-14 ครั้งต่อเดือน ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือ ด้านความสามารถที่สัมผัสได้ ด้านความมั่นใจได้  ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านการตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ ตามลำดับ และด้านความเข้าใจถึงจิตใจผู้อื่น อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านความสามารถสัมผัสได้ โรงพักสินค้าที่ให้บริการมีขนาดมาตรฐาน เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายมีมาตรฐาน ด้านความน่าเชื่อถือได้ควรจัดเก็บมีระบบการจัดเก็บและปล่อยสินค้าที่มีความเป็นมาตรฐาน ด้านการตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ มีการบริการในเวลาราชการและนอกราชการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการให้บริการ


Keywords


คุณภาพการให้บริการของโรงพักสินค้า

Full Text:

Untitled

References


ชุมพร แย้มโอษฐ์. (2555). คุณภาพการให้บริการขนส่งของ บริษัท ปานทอง ทรานสปอร์ต จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

ถวัลย์ เทียนทอง. (2548). ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัทไทยแอร์พอร์ตส์กราวด์เซอร์วิสเซสจำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ.

หยาดรุ้ง พึ่งพิพัฒน์. (2554). คุณภาพการให้บริการด้วยระบบ RFID กรณีศึกษาบริษัท ซาโต้ ออโต้-ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด. ปริญญาบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง