กรณีศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ใช้บริการ ชาวต่างประเทศในการเลือกใช้บริการของโรงแรมไอบิส และโรงแรมโนโวเทลในเขตกรุงเทพมหานคร

ฉัตรชัย สิริวาณีปกรณ์

Abstract


การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับ 2 ดาว กรณีศึกษาโรงแรมไอบิสในเขตกรุงเทพมหานคร ของผู้ใช้บริการชาวต่างประเทศ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับ 4 ดาว กรณีศึกษาโรงแรมโนโวเทลในเขตกรุงเทพมหานคร ของผู้ใช้บริการชาวต่างประเทศ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาด และทัศนคติของชาวต่างประเทศในการใช้บริการโรงแรมระดับ 2 ดาวและโรงแรมระดับ 4 ดาว กรณีศึกษาโรงแรมไอบิส และโรงแรมโนโวเทลในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อทัศนคติของชาวต่างประเทศในการเลือกใช้บริการระหว่างโรงแรมระดับ 2 ดาว และโรงแรมระดับ 4 ดาว กรณีศึกษาโรงแรมไอบิส และโรงแรมโนโวเทลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม ด้านปริมาณ ใช้แบบสอบถามที่เก็บและรวบรวมข้อมูลกับชาวต่างประเทศที่เลือกใช้บริการของโรงแรมไอบิส (โรงแรมระดับ 2 ดาว) และโรงแรมโนโวเทล (โรงแรมระดับ 4 ดาว) ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 ชุด ผ่านช่องทางออนไลน์ของโรงแรม และด้านคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารของโรงแรมไอบิสและโรงแรมโนโวเทล ในเขตกรุงเทพมหานคร รวม 9 แห่ง เพื่อใช้ข้อมูลสนับสนุนและเพิ่มเติมจากวิจัยเชิงปริมาณ งานวิจัยนี้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณซึ่งประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, multiple regression, one-way ANOVA และพหุกลุ่ม ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์และบริการ ราคา สถานที่จัดจำหน่าย รายการส่งเสริมการขาย กระบวนการในการทำงาน พนักงาน และลักษณะทางกายภาพ มีอิทธิพลต่อทัศนคติของชาวต่างประเทศในการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับ 2 ดาวและโรงแรมระดับ 4 ดาวแตกต่างกัน

Keywords


นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ, ส่วนประสมทางการตลาด, ทัศนคติ

Full Text:

Untitled

References


กรรณิกา ไชยวิเศษ. (2553). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการโรงแรม ฮิลตันภูเก็ต อาเคเดีย รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดภูเก็ต. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

กัลยา วานิชย์บัญขา. (2544). การวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (ม.ป.ป.). จิตวิทยาการให้บริการ. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 29, 2557, จาก http://eservices.dpt.go.th/eservice_6/ejournal/30/30-07.pdf?journal_edition=30.

ตฤณ พริ้งประเสริฐ, พิทักษ์ ศิริวงศ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2544). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการที่พักแบบเกสเฮาส์บริเวณถนนข้าวสาร. วารสารสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ เมษายน 20, 2557, จาก gsbooks.gs.kku.ac.th/54/grc12/files/hmp5.pdf.

ธัญญารัตน์ บุญต่อ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม เวสติน แกรนด์ สุขุมวิท. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ พริ้น.

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (ทอท.). (2556). สถิติการเดินทางเข้าประเทศไทยของนักท่องเที่ยว. วารสารสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ เมษายน 20, 2557, จากhttp://aot.listedcompany.com/misc/PRESN/20131211-AOT-corporatePresentationFY2013-01.pdf.

พฤติกรรมผู้บริโภค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 28, 2557, จาก http://www.udru.ac.th/website/attachments/elearning/07/10.pdf.

เมธี จารัตนากร. (2552). ทัศนคติและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกซื้อโยเกิร์ตธรรมดาและ โยเกิร์ตเสริมคุณค่าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 18, 2557, จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/it/0556/03CHAPTER2.pdf.

ยุบลวรรณ ประมวญรัฐการ. (2544). มนุษย์กับสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล, ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว และโชติรส กมลสวัสดิ์. (2544). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริพร วิษณุมหิมาชัย. (2548). การสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าด้วยคุณภาพและคุณค่าในงานบริการ. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 28, 2557, จาก http://mkpayap.payap.ac.th/siriporn/pdf/pyupdf1.pdf.

สุทธิชัย พิสุทธิ์เสรีวงศ์ และประหัสชัย ระมาศ. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมแบบประหยัดของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา: โรงแรมแบบประหยัด จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ เมษายน 20, 2557, จากwww.arts.kmutnb.ac.th/arts2011/Document/varasan4_1.pdf.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุภา สายบัวทอง. (2550). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการโรงแรม ฮิลตัน หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การตลาด, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Nanosoft & Solution Ltd. (n.d.). ความภักดีในตราสินค้า. วารสารสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ เมษายน 29, 2557, จาก http://www.nanosoft.co.th/maktip74.htm.

Wen Hua, Andrew Chan & Zhenxing Mao.(2009). Critical Success Factors and Customer Expectation in Budget Hotel Segment. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 21, 2557, จาก http://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/15280080802713702.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง