รูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดการศึกษา ในจังหวัดหนองคาย

เกรียงไกร สันติวิริยกาญจน์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
1) รูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน กรณีการ
จัดการศึกษาในจังหวัดหนองคาย 2) แนวทาง
ในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
กรณีการจัดการศึกษาในจังหวัดหนองคาย โดยแบบ
ของการวิจัยและพัฒนา โดยการผสมผสานวิธีวิจัย
เชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบ
วิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ
ผู้บริหารเทศบาลเมืองหนองคาย และเทศบาลเมือง
ท่าบ่อ จำนวน 12 คน ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด
เทศบาลเมืองหนองคาย และเทศบาลเมืองท่าบ่อ
จำนวน 8 คน ครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมือง
หนองคาย และเทศบาลเมืองท่าบ่อ จำนวน 28 คน
นักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย
และเทศบาลเมืองท่าบ่อ จำนวน 105 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์
เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ
วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหาร
จัดการศึกษา เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของ
เทศบาล พบว่า ยังไม่มีโรงเรียนเทศบาลใดใน
จังหวัดหนองคาย ที่มีรูปแบบการจัดการศึกษา
เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนอย่างจริงจัง เนื่องจาก
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาเพื่อรองรับ
ประชาคมอาเซียนในจังหวัดหนองคาย ไม่ได้มีส่วน
ร่วมในการกำหนดนโยบาย และวิสัยทัศน์ในการ
จัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนมาตั้งแต่
เริ่มต้น การจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคม
อาเซียนของเทศบาล เป็นการมอบนโยบายจากส่วน
กลางและผู้บริหารสถานศึกษารับนโยบายไปปฏิบัติ
2. รูปแบบการบริหารจัดการขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
ในจังหวัดหนองคาย คือ รูปแบบของการมีส่วนร่วม
ประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนในสถาน
ศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย (2) หลัก
การแนวคิดที่สำคัญคือ ส่งเสริมแนวคิดการมีส่วน
ร่วมและร่วมปฏิบัติอย่างจริงจังมาตั้งแต่ต้นอย่าง
เป็นรูปธรรม (3) ระดับการมีส่วนร่วม คือ การมี
ส่วนร่วมอย่างเป็นทางการคือ การเป็นกรรมการ
สถานศึกษาและวิทยากร และการมีส่วนร่วมอย่างไม่
เป็นทางการ คือ การพูดคุยและเข้าร่วมกิจกรรม/
โครงการ (4) บาทบาทการมีส่วนร่วมที่สำคัญคือ
ด้านวิชาการและด้านงบประมาณ


Keywords


รูปแบบการบริหารจัดการ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การจัดการศึกษา

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง