การพยากรณ์ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ โครงการการศึกษาเพื่อปวงชน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

พิชัย ละแมนชัย

Abstract


      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.ปช.) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 2) สร้างสมการถดถอยสำหรับพยากรณ์ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษา ภาค กศ.ปช.ของนักศึกษา และ 3) สร้างสมการถดถอยสำหรับพยากรณ์ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษา ภาค กศ.ปช.ของนักศึกษาจำแนกตามเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อายุ และอาชีพ โดยตัวแปรพยากรณ์ประกอบด้วย 5 ตัวแปรได้แก่ การจัดการศึกษา  ความพร้อมในการศึกษา โอกาสทางการศึกษา การได้รับปริญญา และ การพัฒนาความรู้ความสามารถ  การพยากรณ์จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับความสามารถ และอาชีพ  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อปวงชน ปีการศึกษา 2555 จำนวน 409 คน ที่เลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

      ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.ปช.) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

1.   ตัวแปรพยากรณ์ทุกตัว ได้แก่ การจัดการศึกษา ความพร้อมในการศึกษา โอกาสทางการศึกษา  การได้รับปริญญา และการพัฒนาความรู้ความสามารถ มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 กับระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาโครงการ กศ.ปช.

2.   โดยภาพรวม ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01  มีจำนวน 4 ตัว เรียงตามน้ำหนักการพยากรณ์จากมากไปน้อยได้แก่ ความพร้อมในการศึกษา การได้รับปริญญา โอกาสทางการศึกษา และการพัฒนาความรู้ความสามารถ โดยทั้ง 4 ตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจได้ร้อยละ 39.50 

3.   เมื่อจำแนกตามรายตัวแปรได้ผลดังนี้

      3.1    สำหรับกลุ่มเพศชาย ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีจำนวน 3 ตัว เรียงตามน้ำหนักการพยากรณ์จากมากไปน้อยได้แก่ การพัฒนาความรู้ความสามารถ ความพร้อมในการศึกษา และโอกาสทางการศึกษา โดยทั้ง 3 ตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรเกณฑ์ได้ร้อยละ 46.90

      3.2    สำหรับกลุ่มเพศหญิง ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีจำนวน 2 ตัว เรียงตามน้ำหนักการพยากรณ์จากมากไปน้อยได้แก่ ความพร้อมในการศึกษา และการได้รับปริญญา โดยทั้ง 2 ตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจได้ร้อยละ 34.30

      3.3    สำหรับกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีจำนวน 2 ตัว เรียงตามน้ำหนักการพยากรณ์จากมากไปน้อยได้แก่ การได้รับปริญญา และความพร้อมในการศึกษา โดยทั้ง 2 ตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจได้ ร้อยละ 34.30

      3.4    สำหรับกลุ่มอายุ 30-39 ปี ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีจำนวน 2 ตัว ได้แก่ การได้รับปริญญา และโอกาสทางการศึกษา ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ความพร้อมในการศึกษา น้ำหนักในการพยากรณ์เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ โอกาสทางการศึกษา ความพร้อมในการศึกษา และการได้รับปริญญา โดยทั้ง 3 ตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจได้ร้อยละ 32.30

      3.5    สำหรับกลุ่มอายุมากกว่า 40 ปี ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีจำนวน 2 ตัว ได้แก่ ความพร้อมในการศึกษา และการพัฒนาความรู้ความสามารถ น้ำหนักในการพยากรณ์เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ความพร้อมในการศึกษา และการพัฒนาความรู้ความสามารถ โดยตัวแปรทั้ง 2 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาได้ร้อยละ 47.20

      3.6    สำหรับกลุ่มความสามารถต่ำ ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อปวงชนของนักศึกษา พยากรณ์ได้จากการได้รับปริญญาที่ระดับนัยสำคัญ .01 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจได้ร้อยละ 18.70 

      3.7    สำหรับกลุ่มความสามารถปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อปวงชนของนักศึกษา ได้แก่ ความพร้อมในการศึกษา และการได้รับปริญญา ที่ระดับนัยสำคัญ .01 น้ำหนักในการพยากรณ์เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ความพร้อมในการศึกษา และการได้รับปริญญา โดยตัวแปรทั้ง 2 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาได้ร้อยละ 47.30

      3.8    สำหรับกลุ่มความสามารถสูง ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อปวงชนของนักศึกษา พยากรณ์ได้จากความพร้อมในการศึกษา โอกาสทางการศึกษา และการได้รับปริญญา โดยมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 น้ำหนักในการพยากรณ์เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ความพร้อมในการศึกษา โอกาสทางการศึกษา และการได้รับปริญญา โดยตัวแปรทั้ง 3 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาได้ร้อยละ 37.70

      3.9    สำหรับกลุ่มอาชีพพนักงานและลูกจ้าง ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อปวงชนของนักศึกษา พยากรณ์ได้จากความพร้อมในการศึกษา โอกาสทางการศึกษา และการได้รับปริญญา  โดยตัวแปรทั้ง 3 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาได้ร้อยละ 46.00 โดยมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 น้ำหนักในการพยากรณ์เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ความพร้อมในการศึกษา การได้รับปริญญา และโอกาสทางการศึกษา 

      3.10 สำหรับกลุ่มอาชีพรับราชการ ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อปวงชนของนักศึกษา พยากรณ์ได้จากการพัฒนาความรู้ความสามารถ โอกาสทางการศึกษา และความพร้อมในการศึกษา โดยตัวแปรทั้ง 3 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาได้ร้อยละ 34.80 โดยมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 น้ำหนักในการพยากรณ์เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ โอกาสทางการศึกษา ความพร้อมในการศึกษา และการพัฒนาความรู้ความสามารถ

      3.11 สำหรับกลุ่มอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัวและยังไม่ทำงาน ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อปวงชนของนักศึกษา พยากรณ์ได้จากความพร้อมในการศึกษา และการได้รับปริญญา โดยตัวแปรทั้ง 2 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาได้ร้อยละ 38.40 โดยมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 น้ำหนักในการพยากรณ์เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ความพร้อมในการศึกษา และการได้รับปริญญา


Keywords


ระดับการตัดสินใจ, สมการพยากรณ์ระดับการตัดสินใจ

Full Text:

Untitled

References


ฉอ้อน เกิดพันธ์. (2548). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนพณิชยการ หัวหิน อำเภอหัวหิน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

บุษกร การพิทักษ์. (2546). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนกรพิทักษ์ศึกษา เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ปิยศักดิ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์. (2543). การศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจให้บุตรหลานเข้าศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ภูมิจิตร ศรีวงษ์ราช. (2541). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการบริหารงานพัฒนาของ คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. (2549). รวมกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน. เอกสารอัดสำเนา. 212 หน้า.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. (2551). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี. ฉบับที่ 80.

สมยศ นาวีการ. (2536). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สุพรหม จะทำดี. (2551). การตัดสินใจของปัจเจกบุคคล (Individual Decision Making). จาก www.person.rtaf.mi.th.

Ebert, Ronald & Micheal,Terrence. (1975). Organization Decision Process. New York: Crane Russal.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง