นโยบายของรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว

ชัยภัฏ จันทร์วิไล

Abstract


         การวิจัย เรื่อง นโยบายของรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษานโยบายของรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว 2. เพื่อวิเคราะห์นโยบายของรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว 3. เพื่อเสนอแนะรูปแบบนโยบายของรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มผู้กำหนดนโยบายข้าวภาครัฐ จำนวน 3 คน กลุ่มผู้รับนโยบายมาปฏิบัติ จำนวน 3 คน กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกับนโยบาย จำนวน 7 คน และ กลุ่มผู้ปฏิบัติตามนโยบาย จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 19 คน

ผลการศึกษาพบว่า

  1. นโยบายของรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเป็นอย่างไร พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นดังนี้ ตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ก็เพื่อวัตถุประสงค์เป็นการเสริมสภาพคล่องของเกษตรกรที่เดือดร้อนในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวเท่านั้น อย่างไรก็ตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่ช่วงแรกไม่ค่อยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการก็ได้แก้ไขกติกาเพิ่มเติมทำให้เกษตรกรเข้าร่วมมากขึ้น จนโครงการนี้ยุติลงในปี พ.ศ.2528 เพื่อเตรียมการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกมาเป็น “มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก” ปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ถึงแม้รัฐบาลจะมีการกำหนดมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเปลือกไว้หลายโครงการแต่ก็ประสบปัญหาอุปสรรคและไม่สามารถจัดการให้ประสบผลสำเร็จได้
  2. ปัญหาและอุปสรรคของนโยบายของรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเป็นอย่างไร พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้ที่กำหนดนโยบายรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว คือ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) หรือคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวแห่งชาติ(นบข.) ไม่ได้ให้ผู้ที่อยู่ในกระบวนการข้าวและมีความรู้ความเข้าใจ อีกทั้งมีส่วนได้ส่วนเสียและได้รับผลกระทบโดยตรง เข้ามาเป็นคณะกรรมการ อีกทั้งนโยบายรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเป็นนโยบายระยะสั้นตอบสนองความต้องการของพรรคการเมืองที่หาเสียงแบบประชานิยม และได้เข้ามาเป็นรัฐบาล เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีจำนวนมาก และยังพบว่านโยบายรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจาก พยายามกำหนดราคาข้าวเปลือกที่ต้นทางผลิตเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
  3. แนวทางหรือรูปแบบการกำหนดนโยบายของรัฐในด้านการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวที่มีประสิทธิภาพควรเป็นอย่างไร พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่เห็นว่า คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) หรือ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายรัฐในด้านเสถียรภาพราคาข้าว ควรประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนได้เสีย และได้ผลกระทบโดยตรงมาเป็นคณะกรรมการด้วย ควรให้นโยบายรัฐในด้านเสถียรภาพราคาข้าว เป็นนโยบายระยะยาว ไม่ควรให้เป็นนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองเชิงประชานิยม โดยอาจให้นโยบายรัฐในด้านเสถียรภาพราคาข้าว เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ที่ผ่านมานโยบายรัฐในด้านเสถียรภาพราคาข้าวไม่ประสบผลสำเร็จ เกษตรกรยังประสบปัญหาขายข้าวไม่ได้ราคา ยากจน และเป็นหนี้ เนื่องจากการกำหนดราคาที่ต้นทางผลิต คือ ข้าวเปลือกไม่สามารถสะท้อนราคาที่เป็นจริงของข้าวได้ เพราะราคาข้าวถูกสะท้อนจากตลาดโลก ที่มีปัจจัยด้านการผลิตข้าวโลก การบริโภคข้าวโลก และสต็อกข้าวโลก ดังนั้น ผู้กำหนดราคาในประเทศ คือ ผู้ค้าข้าวส่งออก ซึ่งซื้อข้าวจากโรงสี และโรงสีก็ซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร โดยมีเงื่อนไข ด้านคุณภาพ ปริมาณ เป็นข้อได้เปรียบเกษตรกรผู้ผลิตข้าว ดังนั้น นโยบายรัฐในด้านเสถียรภาพราคาข้าว จึงควรกำหนดราคาข้าวที่สะท้อนจากราคาตลาดโลก ที่มีปัจจัยควบคุมดังกล่าว  

Keywords


นโยบาย, การรักษาเสถียรภาพ, ราคา, ข้าว

Full Text:

Untitled

References


บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2531). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์.

ปกรณ์ ปรียากร. (2532). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา. นนทบุรี: มสธ.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2540). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สุภางค์ จันทวานิช. (2542). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

______. (2543). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. (2545). วารสารสำนักนโยบายและแผน พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผน.

Almond, Gabriel & G. Bingham Powell. (1993). Comparative Politics : System Process and Policy. Boston: Little, Brown.

Anderson, James. (1975). Public Policy Making. London: Nelson.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง