ปัจจัยกำหนดโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอของกลุ่มกิจการที่ไม่จ่ายเงินปันผล และกลุ่มกิจการที่มีประสิทธิภาพในการทำกำไรต่ำ
Abstract
งานวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอยกเว้นกิจการในภาคการเงิน ของกลุ่มกิจการที่ไม่จ่ายเงินปันผลและกลุ่มกิจการที่มีประสิทธิภาพในการทำกำไรต่ำโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทจำนวน 58 บริษัทวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนและตัวแปรอิสระอื่นโดยใช้สมการถดถอยพหุคูณโดยผลที่ได้จากการศึกษาเป็นดังนี้ผลการศึกษาในกลุ่มของกิจการที่ไม่จ่ายเงินปันผลและกลุ่มกิจการที่มีประสิทธิภาพในการทำกำไรต่ำ พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดโครงสร้างเงินทุนของกิจการและมีความสัมพันธ์กับอัตราหนี้สินต่อสินทรัพย์และอัตราหนี้สินระยะสั้นต่อสินทรัพย์ในทิศทางตรงข้ามกันคือสภาพคล่องและอัตราการเจริญเติบโต นอกจากนั้นผลการศึกษาโดยใช้สมการถดถอยพหุคูณโดยมีตัวแปรตามคืออัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนหนี้สินระยะสั้นต่อสินทรัพย์รวมและอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์รวม ของกลุ่มกิจการที่ไม่จ่ายเงินปันผล มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจพหุคูณ (R-Squared) 0.477, 0.358 และ 0.282 ตามลำดับ และกลุ่มกิจการที่มีประสิทธิภาพในการทำกำไรต่ำ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจพหุคูณ (R-Squared) 0.479, 0.357 และ 0.274 ตามลำดับ
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กฤศกร จิรภานุเมศ. (2553). ผลของการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและกลยุทธ์ที่มีต่อความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงาน การศึกษาเชิงประจักษ์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
กอบกุล จินตนาเวชกุล. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ :สถิติสำหรับการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุศรินทร์ บูรณศักดา. (2545). การทดสอบทฤษฎีลำดับขั้นในการจัดหาโครงสร้างเงินทุน: การศึกษาประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พันธุ์นิวัติ เหนียนเฉลย. (2543). ปัจจัยกำหนดโครงสร้างเงินทุนของบริษัทในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต เศรษฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รจเรข กัลป์ปากรณ์ชัย. (2545). การศึกษาเชิงประจักษ์ในประเทศไทยเกี่ยวกับทางเลือกในการกำหนดโครงสร้างเงินทุนโดยพิจารณาถึงสภาวะทางเศรษฐกิจลักษณะเฉพาะกิจการและข้อจำกัดทางการเงิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รทวรรณ อภิโชติธนกุล. (2557). การจัดการโครงสร้างเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับพิเศษ.
อัครพงศ์ อั้นทอง. (2550). คู่มือการใช้โปรแกรม EViews เบื้องต้น: สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ. สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุไรวรรณ ตั้งสัมพันธ์. (2552). ปัจจัยตัวกำหนดโครงสร้างเงินทุน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Booth, L., Aivazian, V., Demirguc-Kunt, A. & Maksimovic, V. (2001). Capital structure in developing countries. Journal of Finance. 56, 87-130.
Demsetz, Harold., & Lehn, Kenneth. (1985). The Structure Under Corporate Ownership : Causes and Consequences. Journal of Political Economy. 6,(93), 155 - 1177.
Eriotis, N. (2007). How firm characteristics affect capital structure: an empirical study. Managerial Finance. 33(5), 321-331.
Frydenberg, Stein. (2004). Theory of Capital Structure – A Review. Retrieved Jan 12, 2008, from http://papers.ssrn.com/sol3/oaoers.cfm.
Hsiao, J., Hsu, C. & Hsu, K. (2009). An empirical study on capital structure and financing decision – Evidences from East Asian Tigers. The Business Review, Cambridge. 13(1), 248-253.
Mahira Rafique. (2011). Effect of Profitability & Financial Leverage on Capital Structure: A Case Of Pakistan’s Automobile Industry. Economics and Finance Review. 1(4), 50 – 58.
Mazur, K. (2007). The determinants of capital structure choice: evidence from Polish Companies. Working Paper, Gdansk: Gdansk Institute for Market Economics.
Modigliani, F. & Miller, M. (1958). The cost of capital, corporate finance and the theory of Investment. American Economic Review. 48, 261-297.
Modigliani, F. & Miller, M. (1963). Corporate income tax and the cost of capital: A correction. American Economic Review. 53, 433-443.
Myers, S. & Majluf, N. (1984). Corporate financing and investment decisions when firms have information that investors do not have. Journal of Financial economics. 13, 187-221.
Paudyal, Krishna, Pescetto, Gioia &Deesomsak, Rataporn. (2004). The determinant of capital structure : evidence from the Asia Pacific region. [Online].
Ross, S., Westerfield, R. & Jaffe, J. (2005). Corporate Finance. (7 th ed.). New York: McGraw-Hill Irwin.
Shefrin, H., & Statman, M. (1984). Explaining investor preference for cash dividends. Journal of finance economics. (13), 253-282.
Singh, P. & Kumar, B. (2008). Trade off Theory or Pecking Order Theory: What explains behavior of the Indian firms?. Working Paper, Ahmedabad: Indian Institute of Management Ahmadabad.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง