การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลักษณะงาน และผู้บังคับบัญชา ที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงาน ระดับปฏิบัติการในย่านธุรกิจ ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะงาน และเพื่อศึกษาปัจจัยผู้บังคับบัญชาที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในย่านธุรกิจ ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทดสอบความตรงของเนื้อหา และความน่าเชื่อถือด้วยการวิเคราะห์ประมวลหาค่าครอนบาร์คแอลฟ่า กับพนักงานระดับปฏิบัติการในย่านธุรกิจ ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ได้ระดับความเชื่อมั่น 0.951 หลังจากนั้นแจกแบบสอบถามกับพนักงานระดับปฏิบัติการในย่านธุรกิจ ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ส่วนวิธีการทางสถิตแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วย ด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ส่วนด้านความมั่นคงในงานและด้านความก้าวหน้าในงาน มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ปัจจัยลักษณะงาน ประกอบด้วยด้านความมีอิสระในการทำงาน ไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ส่วนด้านความสำคัญของงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน และด้านงานที่รับผิดชอบมีความท้าทาย มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ และปัจจัยผู้บังคับบัญชา ประกอบด้วย ด้านการไว้วางใจในผู้บังคับบัญชา มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในย่านธุรกิจ ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กลเม็ดเด็ดเพื่อรักษาคนเก่งขององค์กร. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 9, 2558, จาก http://www.haygroup.com/th/press/details.aspx?id=36468.
เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2554). ความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชาและความไว้วางใจในองค์การที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล. ใน การประชุมเวทีวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 2. (หน้า 356). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐยา สินตระการผล. (2550). การบริหารจัดการนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2556). วาง 5 แนวทาง สร้างความผูกพันองค์กร. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 9, 2558, จาก http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1376470488.
ปาริชาติ บัวเป็ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงาน บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ ประเทศไทย (จำกัด). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิเชษฐ์ ผุงเพิ่มตระกูล. (2554). ความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชา ความไว้วางใจในองค์กร ความพึงพอใจในการทำงาน และความผูกพันในองค์การของบุคลากรทางการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิรินทร์ชา สมานสินธุ์. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน: ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท เบสท์ เพอฟอร์แมนซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ลัดดาวัณย์ สกุลสุข. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สุวภรณ์ สีมา. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานฝ่ายบริหารบัญชีลูกค้า หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Casey, W. (2010). The High Cost of Low Engagement. Management Concepts. [Online]. Retrieved July 9, 2015, from www.managementconcepts.com.
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (2010). The motivation to work (12 th ed.).
New Brunswick: Transaction.
Huse, E. F. & Cummings T. G. (1985). Organization development and change. Minnesota: West.
Kossen, Stan. (1991). The Human side of Organisation. New York: Harper-Collins.
Mayer, R. C., & Gavin, M. B. (2005). Trust in management and performance: Who minds the shop while the employees watch the boss?. Academy of Management Journal. 48, 874–888.
McAllister, D. J. (1995). Affect- and cognition-based trust as foundations for interpersonal cooperation in organizations. Academy of Management Journal. 38, 24–59.
Steers, R.M. (1991). Introduction to organization behavior. New York: Harper Collin.
Wayne F. Cascio. (1998). The future world of work: Implications for human resource costing and accounting. Journal of Human Resource Costing & Accounting. 3(2), 9-19.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง