ผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อคุณภาพ การตรวจสอบภายใน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดหนองคาย
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคายและเพื่อศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน ผู้บริหารระดับกอง/สำนัก และผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในในเขตจังหวัดหนองคาย จำนวน 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมประสิทธิ์ถดถอยอย่างง่าย วิธีการ (T-Test) สำหรับตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีอายุในช่วง 41 – 50 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาโท ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้อำนวยการกอง / หัวหน้าส่วน และมีประสบการณ์ในการทำงาน 11-15 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนคุณภาพการตรวจสอบภายใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลด้านประชากรศาสตร์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในการทำงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบแยกเป็นรายด้านทั้ง 6 ด้าน พบว่า ด้านคุณค่าของความซื่อสัตย์และจรรยาบรรณและด้านปรัชญาและลักษณะการบริหารงานของผู้บริหารระดับแตกต่างกัน
สภาพแวดล้อมภายในการทำงานที่มีต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย พบว่า สภาพแวดล้อมภายใน ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณค่าของความซื่อสัตย์และจรรยาบรรณ ด้านปรัชญาและลักษณะการบริหารงาน ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านการมอบหมายอำนาจหน้าที่ ด้านนโยบายและวิธีปฏิบัติด้านทรัพยากรบุคคลและด้านความสามารถในหน้าที่ของบุคลากร ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคายค่อนข้างมาก
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กรมบัญชีกลาง. (2546). แนวปฏิบัติการตรวจสอบภายในภาคราชการ. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง.จันทนา สาขากร และคณะ. (2548). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น.เพรส. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2548). แนวทางการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: ดูมายเบส.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2541). แนวทางการปฏิบัติการตรวจสอบภายใน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.
พรเพ็ญ องอาจวาจา. (2549). การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในและตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ตรวจสอบภายในการท่าเรือแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
วนันพรณ์ ชื่นพิบูลย์. (2552). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีและประสิทธิภาพการตัดสินใจของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิญญารักษ์ ทิพพิชัย. (2554). ผลกระทบของกลยุทธ์การตรวจสอบภายในที่มีต่อคุณภาพรายงาน การตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน สังกัดกระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต การบัญชี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุทัยรัตน์ แก้วกู่. (2554). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Kanter, A. T. (2007). Dynamic capabilities and operational capabilities: A Knowledge management perspective. Journal of Business Research. 1(5), 145-160.
Peter Dunker. (2003). Effective Decision Making. Management Guru. 104-110.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง