การจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ฟาริดา แสงเอี่ยม

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ใมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา
การจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมและกระบวนการ
มีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง
ประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการจัดการ
น้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์
และ 3) เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการน้ำ
เพื่อสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม
ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
โดยมีใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่อง
มือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างในการ
วิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขต
เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 390 คน การ
วิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหาร
เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ พนักงานราชการและ
ประชาชนจำนวน ทั้งหมด 9 คน สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมของ
เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในภาพรวมอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.41 - 4.20
คือ ด้านการจัดองค์กร รองลงมาคือ ด้านการจัดคน
เข้าทำงาน ด้านการควบคุมกำกับ ด้านการควบคุม
กำกับ และค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.00 - 1.80 คือ ด้านการ
วางแผน ส่วนกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ที่มีต่อการจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมของเทศบาล
เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน
โดยเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ด้านการรับผลประโยชน์ รองลงมาคือ ด้านการดำเนินงานด้านการติดตามประเมินผล และการตัดสินใจตามลำดับ

2. กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
กับการจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาล
เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในภาพ
รวม พบว่ามีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 601)
ผลการวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน พบว่า ความสัมพันธ์
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการจัดการน้ำ
เพื่อสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์
มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ การตัดสินใจ
โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.696**)
ความสัมพันธ์กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
กับการจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาล
เมืองประจวบคีรีขันธ์ มีความสัมพันธ์กันในทิศทาง
เดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ได้แก่ การดำเนินงาน การรับผลประโยชน์
การติดตามประเมินผล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ (r = 0.462**, 0.311** และ 0.266**)
ข้อค้นพบ/แนวทางที่เหมาะสม จากการวิจัย
ผู้บริหารเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ควรเพิ่ม
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากกว่าเดิม
มีการวางแผนปรับปรุงการจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม
ให้สอดคล้องและทันเหตุการณ์ ควรมีการจ้างองค์กร
เอกชนในการจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม และมีการ
ควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เข้ม
งวดและให้เจ้าหน้าที่ยึดถือระเบียบข้อบังคับในการ
ปฏิบัติให้มากขึ้น


Keywords


การจัดการน้ำ; กระบวนการมีส่วนร่วม; แนวทางที่เหมาะสม

Full Text:

PDF

References


นิยดา สวัสดิพงษ์. (2552). การอนุรักษ์พลังงานและวิเคราะห์พลังงานความร้อน. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

จันทิมา ตั้งตระกูลทรัพย์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร.

วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศสาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิไลพร จันทร์สุวรรณ. (2554). การมีส่วนร่วมของสมาชิกนิคมสร้างตนเองในการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติในนิคมสร้างตนเองท้ายเหมือง จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

Cohen,J.M. &Uphoff, N. (1980). Participation’s place in rural development: seekingclarity through specificity. World Developments. N.d.

Heinz weihrich, and Harold Koontz. (1993). Management, A Global Perspective. Tenth edition. McGrawHill: International Editions, Management and Organization Series.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง