ความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนต่อสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน
ของครูโรงเรียนเอกชนต่อสถานศึกษา ระดับประถม
ศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความผูกพันของครู
โรงเรียนเอกชนต่อสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา
จำแนกตามอายุ ระยะเวลาที่สอนในโรงเรียนปัจจุบัน
และระดับการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
คือครูโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาเขตพื้นที่
การศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 330 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
Independent t-test และ One-way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความผูกพันของ
ครูโรงเรียนเอกชนต่อสถานศึกษา ระดับประถม
ศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับระดับมาก (x = 4.05) พิจารณา
เป็นรายด้าน พบว่า ความผูกพันต่อสถานศึกษาด้าน
ทัศนคติมีค่าสูงสุด (x = 4.55)และด้านความ
ต่อเนื่องมีค่าต่ำสุด (x = 3.46) 2) ความผูกพันต่อ
สถานศึกษาของครูโรงเรียนเอกชนที่มีอายุแตกต่าง
กันโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านความรู้สึก
และความยึดติด 3) ความผูกพันต่อสถานศึกษาของ
ครูโรงเรียนเอกชนที่มีระยะเวลาที่สอนในโรงเรียน
ปัจจุบันแตกต่างกันโดยภาพรวมและรายด้าน
ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ยกเว้นด้านความรู้สึก ความต่อเนื่อง ความยึดติด
และทัศนคติ และ 4) ความผูกพันต่อสถานศึกษาของ
ครูโรงเรียนเอกชนที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน
โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 โดยครูที่มีระดับการศึกษาสูงกว่า
ปริญญาตรีมีความผูกพันต่อสถานศึกษาภาพรวม
มากกว่าครูที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี
เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าครูที่มีระดับการศึกษาที่
แตกต่างกันมีความผูกพันต่อสถานศึกษาด้าน
บรรทัดฐานทางสังคมและทัศนคติที่แตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กฤษณ์เสร็จกิจดี. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
กาญจนาวสุวัต. (2548). สาเหตุการลาออกของครูโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
จิราพร ล่ากระโทก. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ตะวัน สื่อกระแสร์. (2556). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นูรีมัน ดอเลาะ. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริการการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
ปรัชญา วัฒนจัง,2549ปรัชญา วัฒนจัง. (2549). ความผูกพันต่อองค์การ: ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานบริษัท ไทยพานิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะศิลปศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2552). ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ ความหมาย ทฤษฎีวิธีวิจัย การวัดและงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
มานะอยู่ทรัพย์. (2554). การศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภวรรณ หลำผาสุก. (2550). การศึกษาความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์เขตพื้นที่การศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.(2556:ก). รายชื่อและจำนวนโรงเรียนเอกชน. [Accessed on July 20, 2014]. Available from : http://www.opec.go.th.
ศุภริณี อำภรณ์. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการบริหารที่ส่งผลต่อการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชน. [Accessed on September 6, 2014]. Available from : http://www.dpu.ac.th.
Allen, N.J., and Meyer, J.P. (1990). The Measurement and Antecedents of Affective,Continuance, and Normative Commitment to the Organization. Journal of Occupational Psychology 63.
Cherrington, D.J. (1994). Organizational behavior : The management of individual and organizational performance. Boston : Allyn and Bacon.
Fukami, C.V., & Larson, T. (1984). Commitment to company and union. Journal of Applied Psychology, 62.
Glisson, C., &Durick, M. (1988). Predictors of job satisfaction and organizational commitment in human service organizations. Administrative Science Quarterly, 33(1).
Kahn, W. (1990). Psychological conditions of personal engagement and disengagement at work. Academic of Management Journal, 33(4).
Kanter, R.M. (1968). Commitment and Social Organization: A Study of Commitment Mechanisms in Utopian Communities. American Sociological Review 33.
Steers, R.M., & Porter, L. W. (1983). Motivation and work Behavior. 3rded. New York: McGraw-Hill.
Towers, P. (2005). Managing the workforce for competitive advantage: What it takes to attract, retain and engage employees today. [Accessed on August 23, 2014]. Retrieved from : http://www.towersperrin.com.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง