ปัจจัยกระบวนทัศน์ทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานส่วนการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานส่วนการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยกระบวนทัศน์ทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานส่วนการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ได้แก่ พนักงานส่วนการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 209 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมประสิทธิ์ถดถอยอย่างง่าย วิธีการ (T-Test) สำหรับตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่มและการหาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยอย่างง่าย
ผลการวิจัย พบว่า
1. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานส่วนการคลัง กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการคลังของพนักงานส่วนการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี พบว่าพนักงานส่วนการคลังส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรีมีเงินเดือน 10,001-15,000 บาท มีประสบการณ์การทำงานทางด้านการคลัง ระยะเวลา 1-5 ปีและส่วนมากมีการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบฯ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในปัจจุบัน 1-5 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานส่วนการคลัง กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการคลังของพนักงานส่วนการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานีโดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานส่วนการคลัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานีที่มี เพศ อายุ เงินเดือน ประสบการณ์การทำงาน การฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบฯ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในปัจจุบันแตกต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพด้านส่วนบุคคล และด้านผลการปฏิบัติงาน คุณภาพของงาน (Quality of Work) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานส่วนการคลัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานีที่มี ระดับการศึกษาแตกต่างกัน ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพ ด้านส่วนบุคคลและด้านผลการปฏิบัติงาน คุณภาพของงาน(Quality of Work) ไม่แตกต่างกัน
2. ปัจจัยปัจจัยกระบวนทัศน์ทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมค่อนข้างมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ด้านส่วนบุคคล ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดค่าเฉลี่ยที่ 3.99 คือ พนักงานส่วนการคลังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยที่ 3.58 พนักงานส่วนการคลังมีความมุ่งมั่น กระตือรือร้น ใส่ใจในการทำงานอย่างเต็มที่และสุดความสามารถด้านผลการปฏิบัติงาน 1. ด้านคุณภาพของงาน (Quality of Work) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ค่าเฉลี่ยที่ 3.90คือ ในการปฏิบัติงาน พนักงานส่วนการคลังสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ได้อย่างครบถ้วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยที่ 3.80 คือ ก่อนการทำงาน พนักงานส่วนการคลังมีการทำความเข้าใจและกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่องานด้านการคลังจะได้มีคุณภาพและเป็นที่น่าพอใจ
2. ด้านปริมาณงาน (Quantity of Work)ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ค่าเฉลี่ยที่ 3.97 คือ วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในส่วนการคลัง ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยที่ 3.70 คือ การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายมีความเหมาะสมกับงานที่ทำ
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กิติภัส เพ็งศรี. (2545). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศิลปศาสตร์ (รัฐประศาสนศาสตร์) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล
กชกร เอ็นดูราษฎร์. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัท โกรเฮ่สยาม จำกัด. ปัญหาพิเศษ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (วิชาการบริหารทั่วไป). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธันย์ชนก ธิติพงศ์วิวัฒน์. “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่”. ปริญญานิพนธ์.บธ.ม (การจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร, 2552.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี. (2557). รายงานจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี เดือน กันยายน 2557. อุดรธานี: สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด อุดรธานี.
อนัญญา ผมทอง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครสวรรค.์ (วิทยานิพนธ์ ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Ceto, Samuel C (2000). Modern Management. ed.New Jersey: Prentice – Hall Ceto, Samuel
C. and S. TrevisCerto. (2006) Modern Management.ed. New Jersey: Pearson Education.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง