ประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรในเขตลุ่มน้ำชี

ภาคภูมิ พันธุ์รัตน์

Abstract


การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรในเขตลุ่มน้ำชี 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
เพื่อการเกษตรในเขตลุ่มน้ำชี 3) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประสิทธิผลการบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรในเขตลุ่มน้ำำชี แบบของการวิจัยและพัฒนา โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพได้ดำเนินการศึกษาเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวกับนโยบายแผนงาน โครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งในและต่างประเทศ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน กรรมการลุ่มน้ำำ เกษตรกร สมาชิกสภาเทศบาล ตำบล และเกษตรอำเภอ จำนวน 15 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง และการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจำนวนกลุ่มละ 5 คน รวม 10 คน ประกอบด้วยผู้นำกลุ่มดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเลือกแบบเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน ที่เลือกมาจากหัวหน้าครัวเรือน ผู้นำชุมชนในเขตลุ่มน้ำชี 5 จังหวัดละๆ 1 หมู่บ้าน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคำนวณตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ระดับความเชื่อมั่น 0.772 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
ทดสอบสมมุติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอนผลวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรในเขตลุ่มน้ำชี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านนโยบายอยู่ในระดับสูงสุด (x = 3.70) รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการ (x = 3.62) และด้านสังคม (x = 3.59) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรบริหารจัดการทรัพยากรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรในเขตลุ่มชีประกอบด้วย 3 ปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และปัจจัยด้านนโยบาย โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อการเกษตรในเขตล่มุ น้ำชีได้ ร้อยละ 74.4 (R2 = 0.747) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 3) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรในเขตลุ่มน้ำชีที่มีประสิทธิผล คือ (1) ควรมีการทบทวนแผนงาน โครงการต่างๆและนโยบายน้ำแห่งชาติอยู่เสมอเป็นระยะๆมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปตามสภาพของพื้นที่และความต้องการของประชาชน (2) ควรมีรูปแบบการบริหารจัดการแบบผสมผสาน โดยกำหนดแผนงานและข้อตกลงร่วมในการบริหารจัดการ ให้มีความชัดเจน และเปิดโอกาสให้สมาชิกส่วนใหญ่มีส่วนร่วม (3) ควรจัดตั้งสถาบันการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา จัดการฝึกอบรม และเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะ และองค์ความรู้ให้กับประชาชนทุกระดับ (4) จัดทำพระราชบัญญัติการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้มีกฎหมายแม่บทสำหรับการพัฒนา การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ (5) จัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยการรวบรวมหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรน้ำมาอยู่หน่วยงานเดียวกัน เพื่อทำหน้าที่บูรณาการข้อมูลและทำงานร่วมกัน (6) ควรประยุกต์รวมการจัดการน้ำในมิติภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ในการจัดการน้ำที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของแต่ละพื้นที่

 


Keywords


ประสิทธิผล; การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ; การบริหารจัดการน้ำ; แบบผสมผสาน; ลุ่มน้ำชี

Full Text:

PDF

References


กรมทรัพยากรน้ำ. (2546). การบริหารจัดการน้ำำของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรน้ำำ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กฤตเมธ สุทธิหาญ. (2552). การจัดประเภทหมู่บ้านชนบทไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลักษณะของทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 5 เล่มที่ 2, หน้า 119.

สถาบันวิจัยสังคม. (2547). โครงการจัดทำรูปแบบกลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการ จัดทำนโยบาย แผน มาตรการ กฎหมาย หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงาน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันทรัพยากรน􀂷้ำและการเกษตร. (2554). ลุ่มน้ำในประเทศไทย. http://www.haii.or.th

โสรัจจ์ ตาปณานนท์. (2543). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการพื้นที่ต้นน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่คำปอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เอกสิทธิ์ โฆสิตสกุลชัย และคนอื่นๆ (2553). การวางแผนจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงด้านน้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครโดยใช้ระบบสารสนทศภูมิศาสตร์บนเว็บ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง