ประสิทธิผลการนำนโยบายประชานิยมไปปฏิบัติในสังคมชนบทไทย

ประภาส มันตะสูตร

Abstract


ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนำนโยบายประชานิยมไปปฏิบัติในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายประชานิยมไปปฏิบัติในสังคมชนบทไทย 3) เพื่อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลการนำนโยบายประชานิยมไปปฏิบัติในสังคมชนบทไทย การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.5 สุ่มแบบหลายขั้นตอน จากกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในทุกภาคของประเทศไทยโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงภาคละ 1 จังหวัดรวม 4 ภาค และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ สำหรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยใช้เครื่องมือคือการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ที่เลือกแบบเจาะจงจากนักวิชาการและข้าราชการระดับสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการอุปมานวิเคราะห์และการตีความผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิผลของการนำนโยบายประชานิยมไปปฏิบัติในสังคมไทยได้รับความพึงพอใจจากประชาชนในสังคมชนบทเป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงการต่างๆ ของนโยบายประชานิยมตรงกับความต้องการของประชาชนซึ่งประชาชนส่วนมากที่ทำการศึกษาประกอบอาชีพรับจ้างซึ่งมีรายได้ไม่มากนัก เมื่อประชาชนมีความพึงพอใจมีความรู้สึกว่าได้รับการดูแลจากภาครัฐรายได้เพิ่มขึ้น เกิดปรากฏการณ์ตอบสนองต่อนโยบายประชานิยมอย่างล้นหลาม ซึ่งจริงๆ แล้วทางฝั่งรัฐบาลทั้ง 6 รัฐบาลที่ทำการศึกษานั้นหวังเพื่อแย่งชิงคะแนนเสียง ยึดฐานที่มั่นของหัวคะแนนโดยเอาตัวนโยบายประชานิยมมาสนับสนุนมีวัตถุประสงค์สุดท้ายเพื่อได้คะแนนเลือกตั้ง โดยไม่คำนึงถึงผลระยะยาวของผลพลอยได้จากนโยบายประชานิยมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายประชานิยมไปปฏิบัติในสังคมชนบทไทยนั้น เกิดจากนโยบายประชานิยมเข้าถึงประชาชนกลุ่มคนรากหญ้า ซึ่งเป็นผู้มีรายได้ต่ำกว่ามาตรฐาน รัฐบาลจึงใช้นโยบายประชานิยมในโครงการต่างๆ สร้างแรงจูงใจ จึงทำให้มีกลุ่มคนได้รับผลประโยชน์อย่างชัดเจน ยิ่งเมื่อรัฐบาลปฏิบัติได้  ตามคำมั่นสัญญา ทำให้ประชาชนมีความนิยมชมชอบรัฐบาลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่ประชาชนระดับรากหญ้าถูกเอารัดเอาเปรียบมาโดยตลอดซึ่งเขาคิดว่าควรได้รับการดูแล ทำให้มีความรู้สึกที่ดีต่อรัฐบาลและต้องการให้รัฐบาลจัดโครงการเกี่ยวกับประชานิยมเพิ่มขึ้นและอย่างต่อเนื่อง 3) ข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายประชานิยมไปปฏิบัติในสังคมชนบทไทย ควรดำเนินการเกี่ยวกับการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนพร้อมทั้งการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในสังคมไทย รวมถึงการนำนโยบายประชานิยมไปปฏิบัติควรมีความโปร่งใสปราศจากการคอรัปชั่น โกงกินในโครงการต่างๆ ที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกันนี้ต้องดำเนินการพัฒนาสังคมชนบทอย่างเร่งด่วนทางด้านการศึกษาการเข้าถึงข่าวสารที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรม ทำการพัฒนาในแนวทางที่มั่นคงไม่ควรนำนโยบายประชานิยมไปยัดใส่มือประชาชนเพียงอย่างเดียวต้องให้เขาเหล่านั้นพึ่งพาตนเองได้ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งนำเอาการบริหารจัดการที่ทันสมัยมาให้ความรู้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถคิดเองทำเอง ไม่รอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเท่านั้นมีการให้บริการทางด้านการเงินครบวงจรและเป็นธรรม เนื่องจากระบบการเงินของประชาชนเป็นความต้องการระดับแรก ควรทำการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเสมอหรือเท่าเทียม รัฐบาลต้องไม่จับประชาชนเป็นตัวประกันด้วยนโยบายประชานิยมเพื่อความนิยมทางด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว เพราะรัฐบาลไม่สามารถหาเงินมาใช้จ่ายกับนโยบายประชานิยมได้ตลอดกาล เมื่อถึงวันนั้นรัฐบาลและประชาชนก็จะอยู่กันไม่ได้จะทำให้เกิดความเดือดร้อนกันทั่วทุกหัวระแหง จะนำมาซึ่งความล่มสลายของประเทศอันไม่สามารถจะกลับคืนมาดังเดิมได้โดยง่าย


Keywords


ประสิทธิผล; นโยบายประชานิยม; สังคมชนบทไทย

Full Text:

Untitled PDF

References


มยุรี อนุมานราชธน. (2547). นโยบายสาธารณะ แนวคิด กระบวนการ และการวิเคราะห์. เชียงใหม่:คะนึงนิจ

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2551). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บพิธ.

วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎี การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สหายบล๊อกและการพิมพ์.

วลัยพร รัตนเศรษฐ. (2553). การประเมินนโยบายสาธารณะด้วยความสุข. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2544). นโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์.(2540). ภาวะผู้นำในการประมวลสาระทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษาหน่วยที่ 5-8.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุทัย เลาหวิเชียร. (2550). รัฐประศาสนศาสตร์: ลักษณะวิชาและมิติต่างๆ. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง