การใช้มาตรการสืบสวนสอบสวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งของไทย

ฉัตรชัย รือหาร

Abstract


การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดยในการเลือกตั้งที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อาจดำเนินการสืบสวนสอบสวนให้แล้วเสร็จก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ.ศ. 2545 ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อาจดำเนินการสืบสวนสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยพลันตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยในการศึกษาวิจัยครัง้นี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น กลุ่มคณะกรรมการการเลือกตั้ง กลุ่มทนายความและนักวิชาการ กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นและกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อหาสาเหตุของสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยนำไปวิเคราะห์สรุป และใช้เป็นแนวทางพัฒนามาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ระยะเวลาทำการสืบสวนสอบสวนมีระยะเวลาที่จำกัด พนักงานสืบสวนสอบสวนมีไม่เพียงพอและไม่สัมพันธ์กับสัดส่วนปริมาณงาน บุคคลที่มาช่วยเหลือในการทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนไม่เข้าใจหลักการของคดีเลือกตั้ง ผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนไม่มีอำนาจตรวจค้น จับกุม หรือออกหมายเรียกพยานหลักฐานไม่มีกฎหมายคุ้มครองพยานในคดีเลือกตั้ง พนักงานสืบสวนสอบสวนไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การสืบสวนสอบสวนมีขั้นตอนมากเกินไป การจัดทำความเห็นซ้ำซ้อนกันหลายชั้นเกินกว่าที่ควรจะเป็น นักการเมืองท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อการรวบรวมพยานหลักฐาน บทลงโทษผู้กระทำความผิดยังไม่รุนแรง ไม่มีการยึดถือสำนวนสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหลักในการดำเนินคดีเลือกตั้ง คดีแพ่ง และคดีอาญาไม่มีกฎหมายให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ประจำ และการวินิจฉัยชี้ขาด และไม่มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สำหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ค้นพบแนวทางการแก้ไขปัญญาเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  ยิ่งขึ้น กล่าวคือ เห็นควรเกลี่ยหรือเพิ่มบุคลากรให้มีจำนวนเพียงพอและสัมพันธ์กับสัดส่วนปริมาณงานผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนให้มีอำนาจในการตรวจค้นจับกุม หมายเรียกพยาน มีเบี้ยเสี่ยงภัยและพกพาอาวุธได้ กำหนดระยะเวลาในการวิเคราะห์สำนวนให้มีความชัดเจน ลดขั้นตอนการวิเคราะห์สำนวนกำหนดให้ยื่นคำร้องคัดค้าน การเลือกตั้งภายใน 30 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ อ้างว่า หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นหรือนับแต่วันที่รู้ว่ามีการกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นมีมาตรการคุ้มครองพยานในคดีเลือกตั้ง มีบทลงโทษผู้กระทำความผิดรุนแรงขึ้น ยึดถือสำนวนสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหลักในการดำเนินคดีเลือกตั้ง คดีแพ่ง และคดีอาญาคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำ มีวาระ 4 ปี และมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นและกำหนดให้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้กับการสืบสวนสอบสวน ทั้งนี้ เพื่อให้นักการเมืองที่ดีเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีและสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติและท้องถิ่นตามเจตจำนงของประชาชนอย่างแท้จริง


Keywords


มาตรการสบืสวนสอบสวน/การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น/คณะ กรรมการการเลือกตั้ง

Full Text:

PDF

References


เฉลิม อยู่บำรุง. (2547). ปัญหาการบังคับใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา : ศึกษากรณีอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2548). การประเมินผลการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ:

คณะกรรมการการเลือกตั้ง. สถาบันพระปกเกล้า.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2554). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551). รายงานการวิจัยการศึกษาพัฒนาการของหลักกฎหมายเลือกตั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ. เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2555). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครบวาระในปี พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2553, มิถุนายน). “กระบวนการยุติข้อขัดแย้งในการเลือกตั้ง”,ใน วารสารการเลือกตั้งของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ฉบับที่ 82. ปีที่ 10(ฉบับที่ 2) : หน้า 9.

หยุด แสงอุทัย. (2513). คำบรรยายชั้นปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ หลักรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง