มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนคดีอาญาโดยพนักงานอัยการ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากกรณีพนักงานอัยการไม่สามารถให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนคดีอาญาได้อย่างเต็มที่ อันจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อระบบการดำเนินคดีอาญาของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารทางกฎหมายจากการศึกษาพบว่าในการสอบสวนคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญา เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ดังนั้น หน่วยงานหลักที่มีอำนาจหน้าที่สอบสวนคดีอาญา จึงได้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พนักงานอัยการไม่มีหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญา แต่จะมีอำนาจในการใช้ดุลพินิจในการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีเท่านั้น ทำให้ผู้ต้องหาอาจไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ข้อเสนอแนะควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130/1“ทุกครั้งที่มีการสอบสวนผู้ต้องหาให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ สรุปผลการสอบสวนแล้วรายงานผลการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการทันที”เพื่อให้พนักงานอัยการรับทราบผลการสอบสวนโดยตลอดเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, ชาติ ชัยเดชสุริย และณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์. (2547). มาตรฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพฯ.
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, (2541). ชาญเชาว์ ไชยานุกิจ, ศิระ บุญภินนท์, Tomoko AKane และ TerutoshiYawashita. “โครงสร้างกระทรวงยุติธรรมและงานอัยการญี่ปุ่น.” บทบัณฑิตย์
กุลพล พลวัน. (2547). สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2547.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2544). คำอธิบายหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการดำเนินคดีในขั้นตอนก่อนการพิจารณา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จีรรัชการพิมพ์.
เข็มชัย ชุติวงศ์. (2542). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์นิติบรรณการ.
คณิต ณ นคร. (2546). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เดือนตุลาคม.
คณิต ณ นคร. (2539). “วิธีพิจารณาความอาญาไทย : หลักกฎหมายกับการปฏิบัติที่ไม่ตรงกัน.”วารสารอัยการ มกราคม
คำชาย จิตรกร. (2546). “อำนาจหน้าที่ของอัยการไทยและลาวในการดำเนินคดีอาญา” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จรัญ โฆษณานันท์. (2545). สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
จิรนิติ หะวานนท์. (2546). สิทธิทางวิธีพิจารณาความอาญาตามรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ชาติ ชัยเดชสุริยะ. (2549). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ชนิญญา (รัชนี) ชัยสุวรรณ. (2546). “การใช้ดุลยพินิจในการดำเนินอาญาของอัยการ.” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ ใจหาญ. (2547). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2525). “งานอัยการของประเทศญี่ปุ่น.” ใน ระบบอัยการสากล, หน้า 105- 106. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
American Bar Associations (ABA). ABA Standard for Criminal Justice: Prosecution Funiction and Defense Function [Online]. Available URL : http://www.abanet.org/crimjust/catalog/5090055.html, 2007 (January, 22).
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง