ศึกษาวิถีชีวิตชนชั้นสังคมชุมชนชนบทซองกก จังหวัดคยองซังบุกโด ประเทศเกาหลีใต้
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตชนชั้นสังคมชุมชนชนบทซองกกด้าน
เศรษฐกิจ 2) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตชนชั้นสังคมชุมชนชนบทซองกกด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยใช้วิธี
วิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) วิถีชีวิตของชนชั้นสังคมชุมชนชนบทซองกกด้านเศรษฐกิจ คือ
ชนชั้นยังบันมีการถือครองที่ดินมากกว่าชนชั้นซังมินการทำเกษตรกรรมและองค์กรความร่วมมือด้าน
การเกษตรสะท้อนในหมู่ชนชั้นยังบันว่า ร่วมมือกันจากความสัมพันธ์เป็นเครือญาติ ครอบครัวชนชั้น
ยังบันรักษาโครงสร้างสังคมที่เป็นลำดับชั้นทางขนบธรรมเนียมประเพณีเอาไว้ การจัดการบ้านเรือน
ทรัพย์สินในบ้านทั้งหมดเป็นของหัวหน้าครอบครัวส่วนสโมสรเครดิตเงินเชื่อรวมตัวเป็นกลุ่มแยก
ระหว่างชนชั้นยังบัน กับชนชั้นซังมิน 2) วิถีชีวิตของชนชั้นสังคมชุมชนชนบทซองกกด้านสังคมและ
วัฒนธรรมได้แก่ ความเชื่อของชนชั้นยังบันและชนชั้นซังมินไม่มีความแตกต่างกัน ผู้หญิงมีความ
เชื่อเรื่องคนทรงเจ้า ส่วนผู้ชายปฏิบัติเพียงพิธีกราบไหว้บรรพบุรุษ และไม่ค่อยมีภารกิจอื่นๆ
เกี่ยวกับศาสนา ค่านิยมเรื่องการศึกษาและค่านิยมในการเคารพผู้อาวุโสสะท้อนให้เห็นว่าชนชั้นยังบัน
ให้ความสำคัญมากกว่าชนชั้นซังมิน ส่วนค่านิยมในเรื่องความกตัญญูกตเวทีมีความจงรักภักดีต่อพ่อแม่อย่างสูง ประเพณีการเกิด จนถึงประเพณีการตายรวมทั้งกิจประเพณีต่างๆ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชุมชนเกิดความรัก ความสามัคคี ความร่วมมือในการทำงานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ประเพณีต่างๆล้วนสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตชนชั้นยังบัน กับชนชั้นซังมินที่มีความแตกต่างกัน ความผูกพันกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้สะท้อนถึงภาษาและวรรณกรรมที่อยู่อาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน และมิตรภาพ การแต่งกาย อาหาร ยาและการรักษาโรคตลอดจนการละเล่นต่างๆ ที่มีมาตั้งแต่อดีต มีความเชื่อที่ยึดถือกันต่อมา ทำให้มีชีวิตที่เรียบง่ายล้วนสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตชนชั้นยังบันกับชนชั้นซังมินที่มีความไม่เหมือนกันในประเด็นดังกล่าว
Keywords
Full Text:
PDFReferences
ดำรง ฐานดี. (2537). มานุษยวิทยาเบื้องต้น เรื่องสังคมและวัฒนธรรมเกาหลี.กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญมา พิพิธธนา. (2553). “สังคมในชนบทเกาหลี.” วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 29, 1:75-89.
ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2530). ประวัติศาสตร์เกาหลีสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Bergel, E. E. (1962). Social Stratification. New York : McGraw-Hill.
Brunner. (1928). Rural Korea : A Preliminary Survey of Economic, Social and Religious Condition. New York: International Missinary Council.
Chang, Eun-yeong. (2015). Interview. 11 April.
Choi, Jae-sok. (1966). A Study of Korean Family. Seoul : Minjungsogwan.
Gallin, B.(1966). Hsin Hsing, Taiwan : A Chinese Village in Change. Berkeley:
University of California Press.
Han, Sang-bok. (1977). Korean Fishermen. Seoul : Seoul national University Press.
Han, Woo-keun. (1970). The History of Korea. Honolulu : The University Press of Hawaii.
Kim, Cha-suk. (2015). Interview. 10 April.
Kim, Dong-sik. (2015). Interview. 12 April.
Kim, Man- hee. (2002). Korean Life. Hyeonamsa.
Kim, Sang-chan and others. (2001). Native literature and original culture of Korea. Seoul : Sumyeongsa.
Kim, Sang-tae. (2015). Interview. 2 January.
Kim, Seung-jik. (2015). Interview. 14 April.
Kim, Tu-hon. (1949). A Study of Korean Family System. Seoul : Ulyu Munwha-sa.
Kyung, Cho-chung. (1962). New Korea. New York : Mac Millan Co., Ltd.
Lee, Bun-seon. (2015). Interview. 14 April.
Lee, Gyeong-ju. (2015). Interview. 9 April.
Lee, Man-gap.(1960). The Social Structure of Korean Village. Seoul : The Korean Research Center.
Lee, Min-su. (2015). Interview. 9 April.
Lee, Yun-seon. (2015). Interview. 11 April.
Osgood, C. (1951). The Koreans and Their Culture. New York : Ronald Press.
Yu, Yeong-mok. (2015). Interview. 12 April.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง