ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของรายการละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของรายการละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ด้าน 1) การบริหารจัดการธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ 2) การบริหารจัดการธุรกิจของผู้ผลิต 3) วิธีการนำเสนอของผู้ผลิต 4) ความต้องการสนับสนุนของผู้อุปถัมภ์ 5) ความต้องการชมรายการละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ของผู้ชมปัจจุบันกับผู้ชมเป้าหมายที่คาดหวังในอนาคต แบบของการวิจัยและพัฒนา โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ วิธีวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ เป็นผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตรายการละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 9 คน คือ ผู้บริหารฝ่ายรายการโทรทัศน์ จำนวน 4 คน อุปถัมภ์รายการละครพื้นบ้าน จำนวน 3 คน และผู้ผลิตรายการละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดย
การวิเคราะห์เนื้อหา และเชิงปริมาณ ประชากรคือกลุ่มผู้ชมปัจจุบัน กับ กลุ่มผู้ชมเป้าหมายที่คาดหวัง
ในอนาคตในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 800 คน คือ กลุ่มผู้ชมปัจจุบัน จำนวน 400 คน กับกลุ่มผู้ชมเป้าหมายที่คาดหวังในอนาคต จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น
ตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารจัดการธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ พบว่า การดำรงอยู่ของรายการละคร
พื้นบ้านทางโทรทัศน์ขึ้นอยู่กับนโยบายของสถานีโทรทัศน์สำคัญมากที่สุดแต่สถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่
ไม่มีนโยบายในการสนับสนุนการผลิตรายการละครพื้นบ้าน 2) การบริหารจัดการธุรกิจของผู้ผลิต พบว่า
การบริหารจัดการองค์กรสำคัญมากที่สุดโดยผู้ผลิตมุ่งเน้นการควบคุมทีมฝ่ายผลิต และการตลาด
เพราะมีผลต่อการได้รับการสนับสนุนจากผู้อุปถัมภ์รองลงมา คือ การบริหารจัดการผลิต และการบริหาร
จัดการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน 3) วิธีการนำเสนอของผู้ผลิต พบว่า การนำเสนอด้วย
เนื้อหามีความสำคัญมากที่สุดโดยการยึดโครงเรื่องเดิมจากนิทานพื้นบ้านในอดีต รองลงมา คือ การนเสนอด้วยเทคนิค และการนำเสนอด้วยเทคโนโลยี 4) ความต้องการสนับสนุนของผู้อุปถัมภ์ พบว่า
การสนับสนุนโฆษณารายการละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ของผู้อุปถัมภ์ มี 3 แบบ คือ 4.1 สปอต
โฆษณา 4.2 โลโก้ และ4.3 การโฆษณาแฝง โดยผู้อุปถัมภ์ให้ความสำคัญกับความต้องการให้เงิน
สนับสนุนมากที่สุด รองลงมา คือ เนื้อหา และระยะเวลาโฆษณา 5) ความต้องการชมรายการละครพื้น
บ้านทางโทรทัศน์ พบว่า กลุ่มผู้ชมแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 5.1 กลุ่มผู้ชมปัจจุบัน คือ กลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่
อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 14 – 34 ปี มีความต้องการเวลาออกอากาศเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ประมาณ
08.00 – 09.00 น. เนื้อหาสอดแทรกความตลกขำขัน เทคนิคนำเสนอด้วยเสียงเอฟเฟคที่แปลกหู
เทคโนโลยีนำเสนอด้วยภาพจริง 3 มิติ นักแสดงที่มีชื่อเสียง และเทคโนโลยีการผลิตด้วยระบบดิจิตอล
ซุปเปอร์ HD 5.2 กลุ่มผู้ชมเป้าหมายที่คาดหวังในอนาคต คือ กลุ่มผู้ชมรายการละครพื้นบ้านทาง
โทรทัศน์ในอนาคตส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 35– 49 ปี มีความต้องการเวลาออกอากาศเป็นวัน
เสาร์-อาทิตย์ ประมาณ 08.00 – 09.00 น. เนื้อหาสอดแทรกความตลกขำขัน เทคนิคนำเสนอด้วยฉาก
เกินจริงแปลกตา เทคโนโลยีนำเสนอด้วยภาพเสมือนจริง 3 มิติ นักแสดงหน้าตา และบุคลิกดี และ
เทคโนโลยีการผลิตด้วยระบบดิจิตอลซุปเปอร์ HD
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). “ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โพรดักส์.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2516). “คติชาวบ้าน”. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
ชิตณรงค์ คณะกฤดาธิการ. (2548). “การบริหารกิจการวิทยุโทรทัศน์และเคเบิลทีวี.” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารกิจการสื่อสาร. หน่วยที่ 10. หน้า 1-3. นนทบุรี. สาขาวิชานิเทศศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2528). “นิทานพื้นบ้าน.” ในเอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 8 (คติชนวิทยาสำหรับครู). หน่วยที่ 2. หน้า 1-36. นนทบุรี. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มัณฑลี ศิลาวิเศษฤทธิ์. (2537). “การถ่ายทอดอุดมการณ์ทางการเมืองของระบอบราชาธิปไตย ในละครโทรทัศน์จักๆ วงศ์ๆ.” วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานิเทศศาสตร์.ภาควิชาการสื่อสารมวลชน. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระ สุภะ. (2537). “การศึกษากระบวนการในการผลิตละครชุดโทรทัศน์ไทย พ.ศ.2536.” วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต. ภาควิชาการสื่อสารมวลชน. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2537). ในท้องถิ่นมีนิทานและการละเล่น: การศึกษาคติชนในบริบททางสังคมไทย.กรุงเทพฯ. มติชน.
สกาวใจ พูนสวัสดิ์. (2547). “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารรายการละครโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท.” สารนิพนธ์วารสารศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุทธิวรรณ อินทะกนก. (2550). “ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่และการปรับตัวของละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการ สื่อสารมวลชน. ภาควิชาการสื่อสารมวลชน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. (2543). การละครไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
อารมณ์ ชื่นคล้าย. (2551). “ความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อละครพื้นบ้านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์.”วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
“การถ่ายทอดความเป็นแฟนตาซีสำหรับเด็กในละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์.” วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน. ภาควิชาการสื่อสารมวลชน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Lam, Desmond, Lee, Alvin and Mizerski, Richard. (2009). “The Effects of Cultural Values in Word-of-Mouth Communication.” Journal of International Marketing. 17, 3 (September): 55-70.
Leung, Kwok. (2008). “Chinese culture, modernization, and international business.” International business Review. 17: 184-187.
Littlejohn, Stephen W. & Foss, Karen A. (2008). Theories of Human Communication. 9th edition. Belmont, CA.: Thomson/Wadsworth.
Spence,M., and Essoussi, L.H. (2010). “SME brand building and management: an exploratory study.” European Journal of Marketing. 44, 7/8.
Tay, J. and Turner, G. (2010) “ Not the Apocalypse: Television Futures in the Digital Age.” International Journal of Digital Television. 1, 1 : 31-50.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง