คุณภาพชีวิตการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดปทุมธานี

ณัฐพร ฉายประเสริฐ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของโรงงาน อุตสาหกรรม ในจังหวัดปทุมธานี
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร 4) เพื่อนำผลการวิจัยมาบูรณาการกับการสอนวิชาภาวะผู้นำและการพัฒนาทีมงาน ดังนี้ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงาน และผู้บริหารในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานีทั้งหมด รวมโรงงานทั้งหมด 3,377 โรงงาน โดยทำการสุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย เลือกโรงงานอุตสาหกรรม 20 แห่ง โดยวิธีการคำนวณ
แบบไม่ทราบประชากร ได้ 385 ตัวอย่าง และเก็บข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดปทุมธานีแห่งละ 20 ตัวอย่าง
สถิติที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในหมวดหมู่ของตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม ใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อเปรียบเทียบดูการกระจายของข้อมูล และสถิติเชิงอนุมาน ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม t-test, F-test และOne-Way ANOVA ใช้เปรียบเทียบความแตกต่าง กรณีพบว่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ในระดับนัยสำคัญ 0.05 หรือระดับความเชื่อมั่น 95% โดยใช้วิธี Least Significant Different (LSD) ของ เชฟเฟ่ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่ม
ตัวอย่าง และใช้สถิติ Multiple Regression Analysis ในการวิเคราะห์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 20-25 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)/ปวช. มีประสบการณ์การทำงาน อยู่ระหว่าง 1 - 5 ปี เป็นพนักงานประจำ และปฏิบัติงานประจำในโรงงาน คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในโรงงานระดับความคิดเห็นในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x = 3.59) ส่วนประสิทธิภาพการทำงาน ระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (x = 3.63) คิดเป็นร้อยละ 72.60
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคลที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตการทำงานต่างกัน พบว่า เพศ การศึกษา สภาพการจ้างพนักงาน และสถานที่การปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านอายุและประสบการณ์การทำงานต่างกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคลที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพ การทำงาน ต่างกัน พบว่า เพศ การศึกษา ประสบการณ์การทำงาน สภาพการจ้างพนักงาน และสถานที่การปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกันส่วนด้านอายุ แตกต่างกัน
คุณภาพชีวิตการทำงานส่งผลเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานทุกด้าน ด้านคุณภาพงานด้านปริมาณ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และด้านใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
การพยากรณ์ปัจจัยส่วนบุคลส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับน้อย ส่วนคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับมาก


Keywords


คุณภาพชีวิตการทำงาน; ประสิทธิภาพการทำงาน

Full Text:

PDF

References


กรรณิกา เทพนวล. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ชนกันต์ เหมือนทัพ และคณะ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ตรีชฎา อุ่นเรือง. (2545). คุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนกรมวิชาการเกษตรในส่วนกลาง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนพล แสงจันทร์. (2556). อิทธิพลคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานผ่านความผูกพันขององค์กร ของพนักงานบริษัทประกันภัย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2556.

ธงชัย สันติวงษ์ . (2541).องค์การและการบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ธีระพงษ์ สมประเสริฐ. (2550). คุณภาพชีวิตในการทำงานของช่างโทรศัพท์ด้านสายตอนนอกบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชญ์สินี ดีผลิผล (2545). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ: ศึกษากรณีบริษัท ไทย แอร์พอร์ตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พีรพงษ์ ฟูศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน TMB ในเขตธุรกิจสมุทรปราการ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม –ธันวาคม 2556).

รมย์ชลี สุวรรณชัยรักษ์. (2550). ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

สมยศ นาวีการ. (2525). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: คณะพานิชศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cascio, F. W. (1995). Quality of Work Life. Managing Human Resources (4th ed.).New York: McGraw-Hill.

Delamotle, Y., and Takezawa,l.(1984).Quality of work life in international perspective.Geneva:International Labour office.

Grunnbaum, J. (1987). variables that Affect Job Satisfaction in Nursing Faculty.Dissertation Abstracts International . 48(12) : 1401-A.

Huse, E. F., & Cummings, T. G. (1985). Organization Development and Change (3rd ed.). Minisota: West Publishing.

Huse, E.F., & Cummings, T.G. (2001). Organization development and change. (7th ed).Australia: South – Western College Publishing.

Kerce, E.W., and Kewley, S.B.(1993). Quality of work life surveys in organizations. New direction method and application. Newbury Park: 189-207

Lewin, D. (1981). Collective Bargaining and The Quality of Work Life. Organizational Dynamics. 11, 2 (Autumn): 37-53.

Locke, E. A. (1976). The Nature and Causes of Satisfaction. In Handbook of industrial and Organizational Psychology. Chicago : Rand McNally.Lusthaus, C.; Adrien, M. H.; Anderson, G.; Carden, F. and Montalván, G. P. (2002).Organizational Assessment – A Framework for Improving Performance. Ottawa: IDRC.

Millet, J. D. (1954). Management in the Public Service. New York : McGraw Hill Book Company.

Newstrom, J. W. and Davis., K. (1997). Organizational Behavior: Human Behavior at Work. 10th ed. New York: The McGrew-Hill.

Peterson, and Plowman. (1997). Business Organization and Management. Homewood,Illnois: Richard D. Irwin

Robbins, S. P. & Coulter, J. (1999). Management. New Jersey : Prentice-Hall.

Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it Slone Management Review, 15, 11-21.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง